เกร็ดความรู้เกี่ยวกับของไหว้เจ้าในวันตรุษจีน

เกร็ดความรู้เกี่ยวกับของไหว้เจ้าในวันตรุษจีน

เกร็ดความรู้เกี่ยวกับของไหว้เจ้าในวันตรุษจีน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

วันตรุษจีน ถือเป็นอีกวันที่ชาวจีนหรือชาวไทยเชื้อสายจีนได้มารวมตัวรวมญาติ เป็นเหมือนเทศกาลปีใหม่ของจีน และเพื่อกราบไหว้บรรพบุรุษ ปีนี้ตรงกับวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2564 และแน่นอนว่าสิ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับเทศกาลตรุษจีนนี้ คือ "ของไหว้เจ้า" 

โดยทั่วไปแล้วที่เราเห็นกันก็จะเป็น หมู ไก่ ผลไม้มงคล ต่างๆ แต่นอกเหนือจากนี้ก็ยังมีของไหว้บางอย่างที่คนจีนนิยมนำมาใช้ประกอบพิธีไหว้เจ้าด้วยเช่นกัน ซึ่งมีดังต่อไปนี้ 

เกร็ดเล็กๆ น้อยๆ เกี่ยวกับของไหว้เจ้า


ซาลาเปา (หมี่ก้วย หรือ หมี่เปา)  มีสองแบบ

- แบบไม่มีไส้ เรียกว่า "หมั่นโถว" มีแบบที่ทำจากหัวมันเนื้อออกสีเหลือง และแบบไม่ผสมมันเนื้อออกสีขาว นิยมทำให้แตกเหมือนดอกไม้บาน ถ้าลูกเล็กจะแต้มจุดแดง ลูกใหญ่จะปั๊มตัว หนังสือสีแดง เขียนว่า ฮก แปลว่า โชคดี

- แบบมีไส้ นิยมไส้ เต้าซา แป้งไม่ผสมมันหน้าไม่แตก มีตัวหนังสือปั๊มว่า เฮง แปลว่า โชคดี

เนื้อสัตว์ที่นำมาเซ่นไหว้ ไม่จำกัดชนิด นิยมจัดเป็นห้าอย่างเรียกว่า "โหงวแซ" หรือสามอย่าง "เรียกว่าซาแซ" ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ ฐานะของผู้ไหว้

ซิวท้อ เป็นซาลาเปาพิเศษ ทำเป็นรูปลูกท้อ ไส้เต้าซา เพราะถือว่าเป็น ผลไม้สวรรค์ ส่วนใหญ่ใช้ในงานมงคลหรืองานวันเกิด เชื่อกันว่าถ้าใครได้กินอายุจะยืนยาว

ขนมฮวกก้วย เป็นขนมถ้วยฟู มีตัวหนังสือจีนเขียนไว้บนขนมว่า ฮวดไช้ และ เฮง มีความหมายว่า โชคดี

หนึงกอ (ขนมไข่) เป็นขนมที่นิยมใช้ไหว้ได้ในทุกเทศกาลของชาวจีน

ก๊าก้วย (ฮวกก้วย) เป็นขนมที่มีความหมายมงคล คือ "ฮวก" แปลว่า งอกงาม "ก้วย" แปลว่า ขนม ใช้กับงานมงคลเป็นส่วนใหญ่ เช่น งานแต่งงาน งานขึ้นบ้านใหม่ บนหน้าขนมปั๊มตัวหนังสือตรงกลาง ว่า "ฮวดไช้" คำที่อยู่รอบนอก คือ "เฮง" แปลว่า โชคดี 

 

คักท้อก้วย เป็นขนมที่ มีไส้ข้าว ไส้กุยช่าย ไส้ผัดผักกะหล่ำ ไส้ถั่ว นวดกับแป้งผสมสีแดง เป็นสีนำโชค ใช้ไหว้เจ้าที่ หรือไหว้บรรพบุรุษ

จับกิ้ม (แต่เหลียง) หรือที่คนไทย เรียกว่า "ขนมจันอับ" ใช้ไหว้เจ้าได้ทุกประเภท ประกอบด้วยขนม 5 อย่าง 

เต้ายิ้งปัง คือ ขนมถั่วตัด

มั่วปัง คือ ขนมงาตัด

ซกซา คือ ถั่วเคลือบน้ำตาล

กวยแฉะ คือ ฟักเชื่อม

โหงวจ๊งปัง คือ ขนมข้าวพอง

ตั่วเปี้ย คนไทยเรีกว่า "ขนมเปี๊ย" แบบเจ เรียกว่า "เจเปี้ย" มีไส้มังสวิรัติ เช่น ไส้เต้าซา แบบชอ เรียกว่า "ชอเปี้ย" ใส่มันหมู ใช้ไหว้เจ้าได้ทุกอย่างเช่นกัน

เกร็ดเล็กๆ น้อยๆ เกี่ยวกับของไหว้เจ้า


ทึ้งถะ คือ เจดีย์น้ำตาล ซึ่งต้องมีทึ้งไซ หรือสิงห์น้ำตาล มีไว้เพื่ออารักขาเจดีย์ ใช้ไหว้เทพยดาฟ้าดิน ในวันที่ 9 เดือน 1 ของทุกปี และสามารถใช้ไหว้เจ้าแม่กวนอิม ในวันไหว้พระจันทร์ได้

น้ำตาล นำน้ำตาลมาใส่ถุง ติดกระดาษแดง สามารถใช้ไหว้ได้ทุกอย่าง

นอกจากนี้ยังมีผลไม้ที่จำเป็นต้องใช้เพราะมีความหมายที่เป็นมงคล ก็คือ

ส้ม คำจีนเรียกว่า "ไต้กิก" หมายถึง โชคดี

องุ่น คำจีนเรียกว่า "พู่ท้อ" หมายถึง งอกงาม

สับปะรด คำจีนเรียกว่า "อั้งไล้" หมายถึง การมีโชคมาหา

กล้วย คำจีนเรียกว่า "เฮียงเจีย" หรือ " เกงเจีย " หมายถึง การมี

เกร็ดเล็ก เกร็ดน้อย ของอาหารที่นำมาไหว้เจ้า

ปลา ต้องเป็นปลาทั้งตัว เพื่อเป็นตัวแทน แห่งการอยู่ร่วมกัน และความอุดมสมบรูณ์

ไก่ สำหรับความเจริญ ก้าวหน้า ซึ่งไก่นั้นจะต้องยังมีหัว หาง และเท้าอยู่ เพื่อเป็นการแสดงให้เห็นถึง ความสมบูรณ์

เส้นหมี่ ก็ไม่ควรตัด เนื่องจากหมายถึง ชีวิตที่ยืนยาว

ทางตอนใต้ของจีน จานที่นิยมที่สุด และทาน มากที่สุดได้แก่ ข้าวเหนียวหวานนึ่ง บ๊ะจ่างหวาน ซึ่งถือเป็นอาหาร อันโอชะ ทางเหนือ หมั่นโถ และติ่มซำ เป็นอาหารที่นิยม อาหารจำนวนมาก ที่ถูกตระเตรียม ในเทศกาลนี้ มีความหมายถึง ความอุดมสมบูรณ์ และความร่ำรวยของบ้าน

 

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook