ตำนานวันไหว้พระจันทร์

ตำนานวันไหว้พระจันทร์

ตำนานวันไหว้พระจันทร์
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เทศกาลวันไหว้พระจันทร์ เป็นเทศกาลของชาวจีนโดยปกติจะมีขึ้นวันเพ็ญ เดือน 8 (เดือนกันยายน หรือตุลาคม) ซึ่งปีนี้ ไหว้พระจันทร์ 2562 ตรงกับวันศุกร์ที่ 13 กันยายน 2562 จะมีการจัดเทศกาลไหว้พระจันทร์ โดยใช้ขนมไหว้พระจันทร์ ร่วมกับการประดับประดาโต๊ะบูชาอย่างสวยงาม เพื่อระลึกถึงเทพธิดาแห่งพระจันทร์ ซึ่งเชื่อกันว่าถือกำเนิดขึ้นในวันนี้

อย่างไรก็ตาม ข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับต้นกำเนิดของเทศกาลนี้ยังคงไม่เป็นที่ปรากฏแน่ชัด บ้างก็ว่าจักรพรรดิแห่งราชวงศ์ฮั่นเป็นผู้ริเริ่มการฉลองเพื่อกราบไว้พระจันทร์เป็นเวลา 3 วันในฤดูใบไม้ร่วง

แต่หลายคนก็แย้งว่า ความจริงแล้วเทศกาลนี้เกิดขึ้นในราวปี พ.ศ. 1911 ในช่วงมองโกลยึดครองจีน ขนมเค้กที่ทำขึ้นก็เพื่อซุกซ่อนข้อความลับของพวกกบฎที่ส่งถึงประชาชนทั่วทั้งประเทศให้มาชุมนุมกันครั้งใหญ่ในเดือน 8 นี้ ทหารมองโกลไม่ได้ระแวงถึงจุดประสงค์ของพวกกบฎ เพราะคิดว่าขนมเค้กเหล่านั้นเป็นการทำตามประเพณีดั้งเดิมของชาวจีน ด้วยเหตุนี้ในคืนนั้นเองทหารมองโกลจึงถูกปราบเสียราบคาบ หลังจากที่ราชวงศ์ใหม่คือราชวงศ์ หมิงได้ถูกจัดตั้งขึ้นแล้ว ประเพณีนี้ก็ถือปฏิบัติกันมาจนถึงทุกวันนี้

 

ตำนานวันไหว้พระจันทร์ตำนานวันไหว้พระจันทร์

 

นอกจากข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์เหล่านี้แล้ว ก็ยังมีนิทานและตำนานอีกหลายเรื่อง หนึ่งในจำนวนนี้ก็คือเรื่องเกี่ยวกับนางเซียงง้อ (บ้างก็เรียกฉางเอ๋อ) ซึ่งเป็นหญิงที่มีความงดงามมาก นางเป็นภรรยาของขุนนางจีนท่านหนึ่ง หลังจากที่นางทานยาวิเศษเข้าไป นางก็เหาะขึ้นไปอยู่บนพระจันทร์ภายหลังนางกลายเป็นอมตะหลังจากที่ได้ดื่มน้ำอมฤตของเทพธิดาองค์หนึ่งบนสวรรค์ กล่าวกันว่านางจันทรเทพธิดาเสี้ยงหงอมีน้ำใจเมตตาเอื้ออารีมาก พอถึงฤดูกาลเพาะปลูกนางก็จะประพรมน้ำอมฤตลงมาบนพื้นโลกและนี่ก็นำมาซึ่งความเจริญรุ่งเรืองแก่ชาวไร่ชาวนาทั้งมวล

และเพื่อเป็นการแสดงความกตัญญูต่อนางจันทรเทพธิดาชาวนาจึงทำขนมโก๋จากแป้งข้าวเจ้าเพื่อสักการะนางในคืนวันเพ็ญเดือน 8 เนื่องจากว่าโดยปกติประเพณีต่าง ๆ ของชาวจีนจะเกี่ยวของกับการทำอาหารพิเศษ ๆ เพื่อเป็นเครื่องสักการะในวันนั้น แต่ว่าอาหารจีนที่ทำขึ้นในวันไหว้พระจันทร์นี้ไม่ใช่ขนมเค้กอย่างเช่นของชาวตะวันตกตามที่เข้าใจกัน

ในประเทศไทย ศิลปะการทำขนมเค้กแบบชาวจีนนี้ถูกนำเข้ามาเผยแพร่โดยชาวจีนอพยพมากกว่า 100 ปีมาแล้ว ขนมไหว้พระจันทร์ของจีนแต่เดิมนั้นมีส่วนประกอบ เช่น ถั่วแดง ลูกนัทจีน 5 ชนิด และ เมล็ดบัว เป็นต้น
แต่ปัจจุบันได้มีการคิดค้นดัดแปลงให้เข้ากับยุคสมัยมากมาย เช่น การรวมเอาทุเรียน ลูกเกาลัดและลูกพลับเข้าไว้ด้วย เครื่องปรุงที่เพิ่มเข้ามาก็อาจจะรวมเอา ไข่แดงเค็ม และเมล็ดแตงโมด้วย

 

ตำนานวันไหว้พระจันทร์ตำนานวันไหว้พระจันทร์

 


ขั้นตอนการไหว้พระจันทร์

1. ไหว้เจ้าในช่วงเช้า ของไหว้จัดปกติ เหมือนจัดของไหว้เจ้าปกติ แต่เพิ่มขนมไหว้พิเศษ คือ ขนมไหว้พระจันทร์, ขนมโก๋, ขนมเปี๊ยะ

2. ของไหว้บรรพบุรุษ ของไหว้จัดปกติ เหมือนจัดของไหว้บรรพบุรุษปกติ แต่เพิ่มขนมไหว้พิเศษ คือ ขนมไหว้พระจันทร์ ไส้อะไรก็ได้, ขนมโก๋ต่าง, ขนมเปี๊ยะต่างๆ แล้วแต่เลือก ผลไม้ไหว้พิเศษ ส้มโอผลใหญ่ๆ สวยๆ

3. ของไหว้เจ้าแม่ในตอนค่ำ

- ของคาว อาหารเจแห้ง 5 อย่าง คือ วุ้นเส้น, ดอกไม้จีน, เห็ดหูหนู, เห็ดหอม, ฟองเต้าหู้

- ขนมไหว้ ขนมไหว้พระจันทร์ ไส้อะไรก็ได้ ที่ไม่มีไข่แดงเค็ม และ ต้องไม่ใช่ไส้โหงวยิ้ง หรือเมล็ด 5 อย่าง เพราะไส้โหงวยิ้ง มีใส่มันหมูแข็ง จึงเป็นของชอ คือมีคาว แต่ไหว้เจ้าแม่ ต้องไหว้อาหารเจ

- ขนมโก๋ มีหลายชนิดเช่น ขนมโก๋ขาว คนจีนเรียก "แป๊ะกอ" แป๊ะ แปลว่า สีขาว กอ คือขนม ก็มีอีกหลายแบบ ทั้งแบบ แผ่นกลม ใหญ่แบน ๆ ปั๊มทำลายนูนสวยงาม มีทั้งแบบกลมเล็ก ๆ ที่มีทั้งแบมีไส้และไม่มีไส้ แล้วยังมี ทำแบบ แท่งสี่เหลี่ยม มีไส้ก็มี ไม่มีไส้ก็มี

- ผลไม้ อะไรก็ได้เหมือนปกติ และเพิ่มพิเศษ ส้มโอใหญ่ๆ สวยๆ

- เครื่องดื่ม ใช้ชาน้ำหรือชาใบ หรือมีทั้งสองแบบ

- กระดาษเงิน ค้อซี, กอจี๊

- กระดาษเงิน-ทองพิเศษ

- เนี้ยเก็ง หรือวังเจ้าแม่กวนอิม

- โป๊ยเซียนตี่เอี๊ย คือ กระดาษ เงินกระดาษทองลายโป๊ยเซียน

- กระดาษเงินกระดาษทองแบบจัดทำพิเศษสวยวาม เช่น กิมก่อง คือ โคมคู่ สัปปะรด อ้วงมึ้ง หรือผ้าม่าน เนี้ยเพ้า คือ ชุดเจ้าแม่พระจันทร์ (ถ้าไหว้เจ้าแม่พระจันทร์ หรือกวนอิมเนี้ยเพ้า ถ้าคิดว่าการไหว้ของเราเป็นการไหว้เจ้าแม่กวนอิม)

- ของไหว้พิเศษอื่นๆ เครื่องใช้อุปโภค หรือสบู่ แชมพู ยาสีฟัน แป้ง เครื่องสำอาง ผ้าเช็ดหน้า เครื่องประดับ และ อ้อยลำยาวๆ ตัดจากราก และ เอายอดด้วยผูกไว้ ที่ด้านหน้าโต๊ะไหว้ ยึดกับขาโต๊ะ แล้วทำขึ้นไปเป็นซุ้มประตู แล้วตกแต่งสวยงาม พร้อมดอกไม้ ใส่แจกันประดับโต๊ะไหว้

- จำนวนธูปไหว้ 3 ดอก หรือ บางบ้านใช้ธูปไหว้พิเศษ เป็นธูปมังกรดอกใหญ่ดอกเดียว หรือ ดอกย่อมๆ 3 ดอก เช่นเดียวกับ เทียนแดงคู่

- เวลาไหว้ ไหว้หัวค่ำ บางบ้านไหว้สาย เพื่อคอยเวลาให้พระจันทร์เต็มดวง

 

ขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก wikipedia,bloggang.com

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook