ยามอุบากอง....คืออะไร?

ยามอุบากอง....คืออะไร?

ยามอุบากอง....คืออะไร?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

คำว่า "อุบากอง" เป็นชื่อนายทหารเอกของพม่า ซึ่งเข้ามาตีไทยในสมัยต้นรัชกาล กรุงรัตน โกสินทร์นี้เองมีประวัติที่ปรากฏในประวัติศาสตร์ดังนี้

อุบากอง เป็นนายทหารยศขุนพล ได้คุมกำลังเข้าโจมตี เมืองเชียงใหม่ เมื่อแรม 1 ค่ำ เดือน 5 ปีมะเมีย พ.ศ.2350 คราวที่พระเจ้าปะดุง ยก 9 ทัพมาตีไทยนั่นเอง แต่ด้วยเหตุผลกลใดไม่ปรากฏ อุบากองถูกฝ่ายไทยจับกุมตัวได้ คราวนั้นพ่อเมืองเชียงใหม่ ได้คุมตัวอุบากองส่งลงมายังกรุงเทพฯ

ยามอุบากองยามอุบากอง


เมื่อขึ้น 8 ค่ำ เดือน 6 ปีมะเมีย พ.ศ.2350 สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตน โกสินทร์ จึงสั่งให้สอบสวนอุบากองทันที ปรากฏว่า อุบากองเป็นคนไทย เกิดในเมืองไทย เพราะมีพ่อ เป็นเชื้อสายพม่า แต่แม่เป็นเชื้อสายคนไทยแถบเมืองธนบุรี พระองค์จึงทรงพระเมตตา พระราชทาน เสื้อผ้า และให้นำไปจำขังไว้ที่คุกวัดโพธาราม (วัดพระเชตุพนฯ ในปัจจุบัน)

ระหว่างที่อุบากองกับพวกถูกจองจำ คุมขังที่คุกวัดโพธิ์ เขาได้สอนตำรายันต์ยามยาตรา ให้กับ พรรคพวก ซึ่งยามนี้ สามารถแหกคุกที่คุมขังได้ เมื่อพรรคพวกสามารถเรียนยามยาตราได้ ตามที่ตนบอกแล้ว อุบากองก็ทำพิธีตามหลักโหราศาสตร์ พอได้ฤกษ์งามยามดี จึงสามารถพากัน แหกคุกวัดโพธิ์ หลบหนีไปได้อย่างปลอดภัย โดยอุบากองกับพรรคพวก พากันหลบหนีไปยังเมือง พม่าได้

แต่ยามที่อุบากองบอกกับพรรคพวกนี้นั้น บังเอิญมีนักโทษพม่า ที่เป็นเชื้อสายไทยบางคน ไม่ได้หลบหนีไปด้วย จึงบอกเล่ากับผู้คุมนักโทษ จึงมีการนำมาเล่าเรียนกัน และให้ชื่อยามยาตรานี้ว่า "ยามอุบากอง" ตามชื่อเจ้าของยามยาตรานั่นเอง อนึ่ง ยามดังกล่าว ปรากฏว่า มีผู้นับถือว่า แม่นยำ ได้ผลจริงๆ ด้วย จึงศึกษาเล่าเรียนสืบๆ กัน มาตราบเท่าทุกวันนี้


ยามอุบากอง นี้ส่วนมากจะใช้ตอน ดูเวลาเดินทาง พบลูกค้า ออกรถ เข้าพบผู้ใหญ่ นำเสนอผลงาน ทำการงานสำคัญๆ ต่างๆ

โดยถ้า สามารถเลือกวันเวลาที่จะทำการได้ ก็จะเลือกตามยามอุบากอง โดยจะมีแบบด้วยกัน 2 แบบ แบ่งเป็น วันข้างขึ้น และวันข้างแรม ดังตารางด้านล่าง 

ยามอุบากอง - ข้างขึ้น

ยามอุบากองยามอุบากอง

 

ยามอุบากอง - ข้างแรม

ยามอุบากองยามอุบากอง

 

ซึ่งวิธีการดูก็ดูตามตาราง แบ่งเป็นแบบข้างขึ้นข้างแรม เมื่อได้วันเวลาที่ต้องการจะดูยามอุบากอง ก็นำมาเปรียบเทียบกับความหมายด้านล่างว่าช่อง วัน เวลา ที่เลือกตรงตำแหน่งใด

 

ศูนย์หนึ่ง อย่าพึงจร แม้ราญรอน จะอัปรา

สองศูนย์ เร่งยาตรา จะมีลาภ สวัสดี

สี่ศูนย์ จะพูนผล จรดล ลาภมากมี 

ปลอดศูนย์ พูลสวัสดิ์ ภัยพิบัติ ลาภไม่่่มี 

กากบาท ตัวอัปรีย์ แม้จรลี จะอัปรา

 

ยกตัวอย่างเช่น : หากต้องเดินทางข้างขึ้น ในวันจันทร์เวลา 18.00 กลางวัน หมายความว่า "สองศูนย์ เร่งยาตรา จะมีลาภ สวัสดี" เป็นต้น

 

>>>ดูกฤษ์ดีวันมงคลต่อ คลิกที่นี่!

ขอบคุณข้อมูลจาก www.myhora.com,http://phoengphak.com

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook