ฤกษ์แต่งงานปี 2553

ฤกษ์แต่งงานปี 2553

ฤกษ์แต่งงานปี 2553
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ฤกษ์แต่งงาน


ฤกษ์วันมงคลสำหรับแต่งงานปี 2553 ....จะต้องนำวัน เดือน ปีเกิดของผู้ที่จะทำการมงคล มาหาวันที่เป็นสิริมงคล กับคู่บ่าวสาว

ฤกษ์แต่งงานปี 2553 ฤกษ์แต่งงานปี 2553 ฤกษ์แต่งงานปี 2553 ฤกษ์แต่งงานปี 2553

วันอังคาร
ธงชัย
ยาม 3
ธงชัย วันพฤหัส
อธิบดี
ยาม 8
อธิบดี วันจันทร์
อุบาทว์
ยาม 2
อุบาทว์ วันเสาร์
โลกาวินาศ
ยาม 4

โลกาวินาศ ราศี 7

ธงชัย
ราศี 4
อธิบดี ราศี 6

อุบาทว์
ราศี 8
โลกาวินาศ ดิถี 13 ธงชัย
ดิถี 16
อธิบดี ดิถี 12 อุบาทว์
ดิถี

2
โลกาวินาศ ฤกษ์ 7 ธงชัย
ฤกษ์ 25
อธิบดี ฤกษ์ 6 อุบาทว์
ฤกษ์ 8
โลกาวินาศ


วันที่ห้ามทำการมงคล คือ วัน ยาม ราศี ดิถีฤกษ์ ที่เป็น อุบาทว์ หรือ โลกาวินาศ และ ดิถีมหาสูญ ดิถีพิฆาต กทิงวัน หรือ อวมานโอน
ดิถีมงคล 5 ประการ ดิถีมงคล 5 ประการ เพื่อใช้ในการทำมงคลต่างๆ มี ดังนี้ 1.ดิถีอมฤตโชค
ดีสำหรับงานทั่วไปเกี่ยวกับความราบรื่นและสบาย 2.ดิถีสิทธิโชค
ดีสำหรับงานสำคัญที่เป็นโครงการระยะสั้น 3.ดิถีมหาสิทธิโชค ดีสำหรับงานที่เป็นโครงการระยะยาว 4.ดิถีชัยโชค
ดีสำหรับงานที่ต้องต่อสู้แข่งขันหรือรบทับจับศึก 5.ดิถีราชาโชค
ดีสำหรับงานที่ต้องขอความช่วยเหลือจากผู้ใหญ่

ฤกษ์แต่งงาน


เกี่ยวกับ "ฤกษ์"
ก่อนจะทำการมงคลใดๆควรหาฤกษ์ดีๆ ต้องถือพยากรณืพระเคราะห์ทั้ง 8 ทิศเป็นหลักและต้องตรวจดูกาลโยคปีปัจจุบันในปฏิทินโหรเสียก่อนว่า วันใด ฤกษ์ใดเป็นอุบาทว์ โลกาวินาศ และวันที่ให้ฤกษ์นั้นจะต้องไม่ตรงกับวันดับ คือที่เรียกว่า "ดิถีมหาศูนย์" หรือ "ดิถีพิฆาต" และอย่าให้วันนั้นเป็นวันกาลกิณีเดิมของผู้ประกอบการ และในภูมิปีนี้ก็ไม่ควรเป็นกาลกิณีด้วย ควรใช้วันที่เป็นธงชัย อธิบดี และวันที่เป็นมิตรอย่าให้พระจันทร์เป็นศัตรูคือ เป็นอริ มรณะ วินาศ ต่อผู้ประกอบการ ให้วางพระจันทร์ไว้ในที่ดีเหมาะสมกับผู้ประกอบการ

ฤกษ์
หมายถึง คราวหรือเวลา ความปลอดภัยหรือความสำเร็จสมประสงค์ อำนวยความเป็นมงคลแก่ผู้ประกอบการนั้นๆ ฤกษ์แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ ฤกษ์บน และ ฤกษ์ล่าง

ฤกษ์บน เป็นชัยมงคลเบื้องสูง โดยถือตำแหน่งของพระจันทร์และดาวพระเคราะห์ต่างๆเป็นหลัก คือ กำหนดโดยจันทร์ พระจันทร์ต้องดีไม่เป็นอริ มรณะและวินาศแก่ผู้ประกอบการ พระจันทร์โคจรให้คุณ เช่น จันทร์คุรุสุริยา ทางโหราศาสตร์ได้กำหนดฤกษ์ไว้ ได้แก่ ทลิทโทฤกษ์ มหัทธโณฤกษ์ โจโรฤกษ์ ภูมิปะโลฤกษ์ เทศาตรีฤกษ์ เทวีฤกษ์ เพชฌฆาตฤกษ์ ราชาฤกษ์ สมโณฤกษ์ รวมเป็น 9 ฤกษ์ เรียกว่า"ฤกษ์บน" หรือ นภดล

ฤกษ์ล่าง ซึ่งเหมาะเป็นชัยมงคลเบื้องใต้ฟ้า หรือเบื้องต่ำบนพื้นดิน โดยมนุษย์เป็นผู้กำหนดขึ้น โดยให้วันทั้ง 7 ประกอบด้วย ดิถี ขึ้นแรมและเดือนปี เป็นหลักในการคำนวณนับ เช่น วัยธงชัย อธิบดี อุบาทว์ และวันโลกาวินาศ และมีดิถีคือ ขึ้น แรม ดิถี จัดเป็นฤกษ์ย่อยต่างๆ รวมเรียกว่า "ฤกษ์ล่าง" หรือ ภูมิดล

บางรายเลือก "ดิถีโชค" เป็นวันมงคลสมรส

ข้างขึ้นข้างแรมของดิถีมงคล 5 ประการ (อักษรย่อ คือ ชื่อวัน ส่วนนับตัวเลขบนล่างคือข้างแรม) อ. จ.

อัง.

ว.

ช.

ศ.
ส. 8
3
9
2
4
1
5 - อมฤตคโชค 11
5
14
10
9
11
4 - สิทธิโชค 14
12

13
4
7
10

15 - มหาสิทธิโชค 8
3

11
10
4
1
11 - ชัยโชค 6
3
9
6
10
7
5

- ราชาโชค ราชาโชค - วันที่มีโชค สิทธิโชค

- วันที่ประสบความสำเร็จ มหาสิทธิโชค - วันที่ประสบความสำเร็จอันดียิ่ง ชัยโชค

- วันที่มีชัยชนะ ราชาโชค - วันที่มีโชคอย่างยิ่งใหญ่

วันที่ห้ามมงคล คือ วัน ยาม ราศี ดิถี ฤกษ์ที่เป็น อุบาทว์ หรือ โลกาวินาศ และดิถีมหาศูนย์ ดิถีพิฆาต กทิงวัน หรือ อวมานโอน ธงชัย
หมายความว่า เวลาประกอบด้วยโชค คือ ความเป็นใหญ่ ความเข้าไปตั้งอยู่ในที่ศัตรูเข้าไปตั้งอยู่มิได้ อธิบดี
หมายความว่า เวลาประกอบด้วยโชค คือ ความเป็นใหญ่ ความเข้าไปอยู่ในอิสรภาพ ดำเนินไปทางเจริญก้าวหน้า อุบาทว์
เวลาอันเข้าไปใกล้คราวดี คราวร้าย แต่ถือกับว่าเป็นอัปมงคล โลกาวินาศ หมายความว่า เวลาเข้าไปสู่อันตราย หรือคราวที่ประกอบไปด้วยอุปวอันตราย

ดิถีเรียงหมอน ดิถีเรียงหมอนนี้ ใช้ในการรแต่งงาน ถือฤกษ์แต่งงานข้างขึ้นใช้ 7, 10, 13 ค่ำ ข้างแรม 4 ,5, 10, 14 ค่ำ วันที่กำหนดไว้นี้นับว่าเป็นวันเรียงหมอนได้ ดังนั้นการให้ฤกษ์ในวันแต่งงาน ควรหาฤกษ์ให้ตรงกับวันเรียงหมอนจึงจะดีมาก ไม่ต้องคอยให้เสียเวลา

ดิถีพิฆาต ดิถีพิฆาต นั้นหมายความว่า วันอัปมงคลไม่ดี ห้ามทำการมงคลทั้งปวง ถ้าหากว่าขืนทำการแล้วอาจจะได้รับอันตรายต่างๆ วันที่ห้ามดิถีใด ได้แก่ วันอาทิตย์

ห้ามดีถี 12 วันจันทร์

ห้ามดีถี 11 วันอังคาร

ห้ามดีถี 7 วันพุธ

ห้ามดีถี 3 วันพฤหัสบดี

ห้ามดีถี 6 วันศุกร์

ห้ามดีถี 9 วันเสาร์

ห้ามดี8


ดิถีมหาศูนย์ ดิถีมหาศูนย์ นั้นหมายถึง วันดับ ถือเป็นวันอัปมงคลให้ผลชั่ว ไม่ควรแก่การมงคล ดิถีตามปฏิทินโหร เมื่อพระอาทิตย์โคจรสถิตราศีใด ที่เป็นดิถีมหาศูนย์ ดูตามดิถีต่อไปนี้ ราศีเมษ

ดิถี 6 เป็นดิถี มหาศูนย์ ราศีพฤษภ์

ดิถี 4 เป็นดิถี มหาศูนย์ ราศีเมถุน

ดิถี 8 เป็นดิถี มหาศูนย์ ราศีกรกฎ

ดิถี 6 เป็นดิถี มหาศูนย์ ราศีสิงห์

ดิถี 4 เป็นดิถี มหาศูนย์ ราศีกันย์

ดิถี 8 เป็นดิถี มหาศูนย์ ราศีตุลย์

ดิถี 10 เป็นดิถี มหาศูนย์ ราศีพิจิก

ดิถี 12 เป็นดิถี มหาศูนย์ ราศีธนู

ดิถี 2 เป็นดิถี มหาศูนย์ ราศีมังกร

ดิถี 1 เป็นดิถี มหาศูนย์ ราศีกุมภ์

ดิถี 12 เป็นดิถี มหาศูนย์ ราศีมีน

ดิถี 2 เป็นดิถี มหาศูนย์

และยังมีวันดับอีก 3 วัน คือ วันที่มีองศาเป็นศูนย์ และวันที่มีอาทิตย์ยกอีกวันหนึ่ง วันสิ้นเดือนแห่งพระจันทร์วันหนึ่ง และวันที่เรียกว่า อวมานโอน นับเป็นวันให้ผลชั่ว ไม่ควรแก่การมงคลทั้งปวง


ปีที่ถูกโฉลก

ปีชวด ถูกโฉลกกับ ปีฉลู

ปีขาล ถูกโฉลกกับ ปีกุน

ปีเถาะ ถูกโฉลกกับ ปีจอ

ปีมะเส็ง ถูกโฉลกกับ ปีวอก

ปีมะเมีย ถูกโฉลกกับ ปีมะแม

ปีมะโรง ถูกโฉลกกับ ปีระกา


วันดับศูนย์

เป็นวันที่ถือกันมาก ห้ามให้ฤกษ์หรือประกอบการมงคลใดๆทั้งสิ้น ถ้าประกอบการมงคลในวันดับศูนย์ การประกอบงานนั้นมักต้องประสบอันตราย เช่น การประกอบพิธีมงคลสมรส ก็ต้องปรากฎว่ามีการหย่าร้างกันในที่สุด และส่วนมากก็มีแต่ผลร้ายทั้งสิ้น วันดับศูนย์ดังกล่าวนี้ ได้แก่ 1.วันสิ้นเดือนทางจันทรคติ 2.วันอวมานโอน ตามปฏิทินโหราศาสตร์ 3.วันที่สุริยุปราคา ห้ามทำการมงคลก่อนหน้ามีสุริยุปราคา จันทรุปราคาก่อน 7 วันและหลังจากมีแล้ว 7 วัน 4.วันที่มีพระอาทิตย์เป็น 2 ราศี คือได้แก่ วันสงกรานต์ วันเนาว์ วันที่พระอาทิตย์ย้ายเปลี่ยนราศี ตลอดจนกระทั่งดาวเคราะห์อื่นที่เปลี่ยนย้ายราศี ดังนั้นวันดับศูนย์จึงห้ามประกอบการใดๆทั้งสิ้น
กทิงวัน เป็นวันสำคัญอีกประการหนึ่ง ที่ห้ามใช้ประกอบการมงคลเพราะมักจะมีบันดาลให้เป็นผลร้าย ดังนี้ วันอาทิตย์

เดือน 1 (อ้าย) ตรงกับวันขึ้นหรือแรม 1 ค่ำ วันจันทร์

เดือน 2 (ยี่) ตรงกับวันขึ้นหรือแรม 2 ค่ำ วันอังคาร

เดือน 3 ตรงกับวันขึ้นหรือแรม 3 ค่ำ วันพุธ

เดือน 4 ตรงกับวันขึ้นหรือแรม4 ค่ำ วันพฤหัสบดี

เดือน 5 ตรงกับวันขึ้นหรือแรม 5 ค่ำ วันศุกร์

เดือน 6 ตรงกับวันขึ้นหรือแรม 6 ค่ำ วันเสาร์

เดือน 7 ตรงกับวันขึ้นหรือแรม 7 ค่ำ


เดือนที่ห้ามฤกษ์

เดือน 6 เดือน 3 ห้ามให้ฤกษ์ 4 ค่ำ เดือน 7 เดือน 10
ห้ามให้ฤกษ์ 8 ค่ำ เดือน 5 เดือน 8
ห้ามให้ฤกษ์ขึ้นหรือแรม 8 ค่ำ เดือน 11 เดือน 2
ห้ามให้ฤกษ์ขึ้นหรือแรม 12 ค่ำ เดือน 9 เดือน 12
ห้ามให้ฤกษ์ขึ้นหรือแรม 10 ค่ำ เดือน 1 เดือน 4
ห้ามให้ฤกษ์ขึ้นหรือแรม 2 ค่ำ


วันฟู เป็นวันที่เหมาะในการประกอบการมงคลต่างๆ

เดือน 5 เดือน 10 วันอังคาร เป็นวันฟู

เดือน 7 เดือน 2 วันเสาร์ เป็นวันฟู

เดือน 9 เดือน 4 วันจันทร์ เป็นวันฟู

เดือน 12 วันพฤหัสบดี เป็นวันฟู

เดือน 1 (อ้าย) เดือน 6 วันศุกร์ เป็นวันฟู

เดือน 8 เดือน 3 วันอาทิตย์ เป็นวันฟู

เดือน 11 วันพุธ เป็นวันฟู


วันลอย เป็นวันที่ใช้ออกเดินทางไกล หรือใช้ออกปล่อยเรือลงน้ำ

เดือน 5 เดือน 10 วันอาทิตย์ เป็นวันลอย

เดือน 7 เดือน 2 วันพฤหัสบดี เป็นวันลอย

เดือน 9 เดือน 4 วันเสาร์ เป็นวันลอย

เดือน 8 เดือน 3 วันศุกร์ เป็นวันลอย

เดือน 11 วันจันทร์ เป็นวันลอย

เดือน 12 วันอังคาร เป็นวันลอย
วันจม เป็นวันที่ไม่นิยมการมงคล ถือว่าไม่ดี วันและเดือน ห้ามทำการมงคล คือ เดือน 5 เดือน 10 วันพฤหัสบดี เป็นวันจม เดือน 1 (อ้าย) เดือน 6

วันอาทิตย์ เป็นวันจม เดือน 7 เดือน 2

วันจันทร์เป็นวันจม เดือน 8 เดือน 3

วันอังคาร เป็นวันจม เดือน 9 เดือน 4

วันพุธ เป็นวันจม เดือน 11

วันศุกร์ เป็นวันจม เดือน 12 วันเสาร์ เป็นวันจม

ปีที่ไม่ถูกโฉลกกัน หรือเรียกว่าปีชง ปีชงเป็นปีทางศาสตร์ของคนจีน ที่ถือว่าเป็นปีชงกันจะไม่ดี ไม่นิยมทำงานมงคลในปีนั้นจะต้องเลื่อนไป เช่น คนที่เกิดปีมะเมียจะชงกับคนปีชวด ถ้าจะแต่งงานในปีชวดก็ไม่นิยม ต้องเลื่อนไปเป็นปีอื่น ปีมะเมีย ชงกับ

ปีชวด ปีมะแมชงกับปีฉลู

ปีวอกชงกับปีขาล

ปีระกาชงกับปีเถาะ

ปีจอชงกับปีมะโรง

ปีกุนชงกับปีมะเส็ง

การให้ฤกษ์ ผู้ให้ฤกษ์จะต้องเชี่ยวชาญในการผูกดวง และให้ฤกษ์ต่างๆจนมีความเชี่ยวชาญ ดังนั้น ฤกษ์ต่างๆทั้ง 9 ฤกษ์ เหมาะสำหรับใช้ในกิจการต่างๆ ดังนี้ 1. ฤกษ์สำหรับการสู่ขอ ทวงหนี้ ใช้ทลิทโทฤกษ์ 2. ฤกษ์สำหรับปราบศัตรูทำสงคราม แข่งขันกีฬา ออกรถ ใช้โจโรฤกษ์ 3. ฤกษ์เปิดร้านค้า โรงงาน มหรสพ ใช้เทศาตรีฤกษ์ ปีขาล
ถูกโฉลกกับ ปีกุน ปีเถาะ ถูกโฉลกกับ ปีจอ ปีมะเส็ง ถูกโฉลกกับ ปีวอก ปีมะเมีย ถูกโฉลกกับ ปีมะแม ปีมะโรง ถูกโฉลกกับ ปีระกา

การบูชาพระประจำวันเกิด คนเกิดวันอาทิตย์ บูชา พระปรางถวายเนตร คนเกิดจันทร์
บูชา พระปางห้ามญาติ คนเกิดอังคาร
บูชา พระปางไสยาสตร์ คนเกิดพุธ
บูชา พระปางอุ้มบาตร คนเกิดพฤหัสบดี บูชา พระปางสมาธิ คนเกิดศุกร์
บูชา พระปางรำพึง คนเกิดเสาร์
บูชา พระปางนาคปรก

การบูชา พระธาตุประจำวันเกิด คนเกิดปีชวด
นมัสการ พระธาตุศรีจอมทอง จ.เชียงใหม่ คนเกิดฉลู
นมัสการ พระธาตุลำปางหลวง จ.ลำปาง คนเกิดขาล
นมัสการ พระธาตุช่อแฮ จ.แพร่ คนเกิดเถาะ
นมัสการ พระธาตุแซ่แห้ง จ.น่าน คนเกิดมะโรง
นมัสการ พระธาตุเจดีย์วัดพระสิงห์ จ.เชียงใหม่ คนเกิดมะเส็ง
นมัสการ พระธาตุเจดีย์ศรีมหาโพธิ์ จ.อุบลราชธานี คนเกิดมะเมีย
นมัสการ พระธาตุเจดีย์ จ.ตาก คนเกิดมะแม
นมัสการ พระธาตุดอยสุเทพ จ.เชียงใหม่ คนเกิดวอก
นมัสการ พระธาตุพนม จ.นครพนม คนเกิดระกา
นมัสการ พระธาตุหริภุณชัย จ.ลำพูน คนเกิดจอ
นมัสการ พระธาตุเจดีย์วัดเกตุการาม จ.เชียงใหม่ คนเกิดกุน
นมัสการ พระธาตุดอยตุง จ.เชียงราย

 

ขอขอบคุณ ข้อมูลของ อ.วีณา แสนอิสระ จากสมาคมโหรแห่งประเทศไทย 02-410-7971/081-620-4145 และwww.weddingsquare.com

อัลบั้มภาพ 7 ภาพ

อัลบั้มภาพ 7 ภาพ ของ ฤกษ์แต่งงานปี 2553

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook