อาถรรพ์ลี้ลับราชินีลูกทุ่ง พุ่มพวง ดวงจันทร์

อาถรรพ์ลี้ลับราชินีลูกทุ่ง พุ่มพวง ดวงจันทร์

อาถรรพ์ลี้ลับราชินีลูกทุ่ง พุ่มพวง ดวงจันทร์
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

พุ่มพวง ดวงจันทร์ ชื่อเล่น ผึ้ง หรือชื่อจริง รำพึง จิตรหาญ นักร้องเพลงลูกทุ่ง เจ้าของฉายา ราชินีลูกทุ่ง ได้ชื่อว่ามีน้ำเสียงออดอ้อน หวาน จำเนื้อร้องได้แม่นทั้งที่ไม่รู้หนังสือ และเป็นแม่แบบให้กับนักร้องรุ่นหลัง

รำพึง จิตรหาญ เกิดที่ อำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท โตที่อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรีเป็นบุตรีของนายสำราญ และนางเล็ก จิตรหาญ ครอบครัวมีอาชีพรับจ้างทำไร่อ้อย เกิดในครอบครัวยากจน เป็นลูกคนที่ 5 ของบ้านในจำนวน 12 คน

 

 

รำพึง ชื่นชอบการร้องเพลงลูกทุ่งตั้งแต่เด็ก ถึงแม้ว่าเธอจะอ่านหนังสือไม่ออกแต่ก็มีความจำดีเยี่ยม เธอเริ่มหัดร้องเพลงและเข้าประกวดตามงานต่าง ๆ ตั้งแต่อายุ 8 ปี โดยใช้ชื่อว่า น้ำผึ้ง ณ ไร่อ้อย เธอเข้าประกวดล่ารางวัลไปทั่ว และต่อมาอยู่กับวงดนตรีที่กรุงเทพฯ กับ ดวง อนุชา ตั้งแต่อายุประมาณ 10 ขวบ แต่ยังไม่ได้เป็นนักร้องอาชีพก็กลับบ้านอำเภอสองพี่น้อง

 

 

ในปี พ.ศ. 2518 เมื่ออายุได้ 15 ปี ไวพจน์ เพชรสุพรรณ นำวงดนตรีมาแสดงที่วัดทับกระดาน เธอได้ร่วมร้องเพลงและแสดงความสามารถจนไวพจน์เห็นความสามารถ เกิดความเมตตา จึงรับเป็นบุตรบุญธรรมและพาไปอยู่กรุงเทพฯ เริ่มต้นอาชีพด้วยการเป็นหางเครื่องและนักร้องพลาง ๆ ก่อนที่ไวพจน์ จะแต่งเพลงและอัดแผ่นเสียงชุดแรกให้ ชื่อเพลง แก้วรอพี่ เพลงแต่งแก้กับเพลง "แก้วจ๋า" โดยใช้ชื่อในการร้องเพลงว่า น้ำผึ้ง เมืองสุพรรณ

พ.ศ. 2521 พุ่มพวงได้รับรางวัลพระราชทานเสาอากาศทองคำพระราชทาน จากสมเด็จพระเทพรัตน์ราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี จากเพลง "อกสาวเหนือสะอื้น" นอกจากนี้ ยังได้เป็นผู้ร้องเพลง "ส้มตำ" พระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี

 

 

13 มีนาคม พ.ศ. 2535 มีข่าวปรากฏตามหน้าหนังสือพิมพ์ว่า พุ่มพวงทะเลาะกับสามี และป่วยเป็นโรคไตขั้นรุนแรง จนต้องเข้าโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง แต่ไม่สามารถเบิกเงินจากธนาคารเพื่อมารักษาตัวเองได้ (ซึ่งมีอยู่ 6 ล้านบาท) สมุดบัญชีอยู่กับไกรสร (สามี) ที่เชียงใหม่ เธอจึงตัดสินใจสั่งอายัติเงินทั้งหมด ต่อมา 20 มีนาคม เธอเดินทางจากเชียงใหม่ เข้ารักษาตัวเองที่โรงพยาบาลตากสิน จันทบุรี และย้ายไปที่โรงพยาบาลศิริราช แพทย์ตรวจพบว่าเธอป่วยด้วยโรคเอสแอลอีหรือโรคแพ้ภูมิตัวเอง อาการขั้นรุนแรง ลุกลามถึงไต ทางด้านไกรสรออกมายอมรับว่ามีปัญหาครอบครัวจริง

ต่อมา 3 เมษายน แพทย์เจ้าของไข้เปิดเผยว่าพุ่มพวงอาการดีขึ้น ทางด้านญาติของพุ่มพวงมีความเห็นว่าควรรักษาด้วยไสยศาสตร์ เนื่องจากเชื่อว่าถูกปองร้ายด้วยไสยศาสตร์ด้วยวิธีการคุณไสย ต่อมาวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2535 เดินทางออกจากโรงพยาบาลศิริราชเพื่อไปรักษาด้วยวิธีทางไสยศาสตร์ ไปจังหวัดพิษณุโลกโดยเดินทางด้วยรถตู้ แต่หลังจากกราบไหว้พระพุทธชินราช เมื่อเวลาประมาณ 13.00 น. ก็เกิดอาการช็อคและหมดสติ ญาตินำส่งโรงพยาบาลพุทธชินราช กระทั่งถึงแก่กรรมอย่างสงบเมื่อเวลา 20.55 น.

 

 

ได้สวดอภิธรรมศพที่วัดมกุฏกษัตริยาราม พิธีพระราชทานเพลิงศพของพุ่มพวง ดวงจันทร์ จัดที่วัดทับกระดาน อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี เมื่อวันที่ 25 มิ.ย. พ.ศ. 2535 โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานในพิธี นอกจากนี้ยังมีการสร้างหุ่นพุ่มพวง ตั้งอยู่ในศาลาริมสระน้ำ วัดทับกระดาน อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งมีการจัดงานรำลึกถึงพุ่มพวงทุกปี ช่วง 13-15 มิถุนายน ซึ่งเป็นวันครบรอบการเสียชีวิตของเธอ

 

 

หลังจากที่พุ่มพวง ได้ลาลับจากโลกนี้ไป เหล่าแฟนเพลงยังคงนึกถึงและอาลัยแด่การจากไปครั้งนี้เป็นอย่างมาก จึงได้สร้างหุ่นพุ่มพวง ดวงจันทร์ ขึ้นมาเอาไว้ให้รำลึกนึกถึงและจากการสร้างหุ่นนั้นเองทำให้มีเรื่องราวเหลือเชื่อลี้ลับต่างๆมากมายที่มิอาจจะหาข้อพิสูจน์ได้ แต่อย่างไรก็ตามเรื่องราว เรื่องเล่าความเฮี้ยนของหุ่นพุ่มพวงนี้ ก็ไม่ได้ทำให้บรรดาแฟนเพลงนั้นรัก หรือรำลึกถึงพุ่มพวง น้อยลงเลยแม่แต่น้อย กลับกลายเป็นว่าสร้างหุ่นนี้เพิ่มกันต่อๆ มาอีกหลายที่จนปัจจุบันนี้มีทั้งหมด 6 แห่ง ดังนี้

 

 

หุ่นรูปที่ 1
ตั้งอยู่ที่ศาลาสระกลางน้ำ วัดทับกระดาน ในชุดสีดำ เป็นหุ่นอภินิหาร สร้างขึ้นหลังจากพระราชทานเพลงศพพุ่มพวงประมาณ 15 วัน โดยพุ่มพวงได้มาเข้าฝันให้สร้างหุ่นนี้ขึ้น ซึ่งทางวัดได้ร่วมกับคณะกรรมเป็นผู้สร้างภายในหุ่นได้บรรจุ สรีระ ผงธุลี เถ้าถ่าน ของพุ่มพวง หลังจากพระราชทานเพลิงศพแล้ว โดยจะมีประชาชนมากราบไหว้ของโชคลาภ จำนวนมาก

 

 

หุ่นรูปที่ 2
อยู่ที่ศาลาสุธรรมรัตราฎร์บำรุง วัดทับกระดาน ในตู้กระจก ยุ้ย ญาติเยอะ เป็นผู้สร้างไว้บูชาครูเพลงพุ่มพวง พวงดวงจันทร์

 

 

หุ่นรูปที่ 3
อยู่ที่ศาลา จัตุรมุขทรงไทย วัดทับกระดาน สร้างโดยนายณรงค์ รอดเจริญ อดีตบรรณาธิการบริหารหนังสือ ดาราเสียงทองพร้อมคณะบรรดาค่ายเทปเพลงต่างๆ เป็นชุดที่พุ่มพวง ขับร้องเพลงส้มตำ เป็นหุ่นแก้บนด้วย ทองคำและเงินสด เป็นหุ่นขี้ผึ้งแข็ง มีลักษณะสรีระเหมือนผู้หญิงจริง ซึ่งใช้ผมจริง เส้นขนจริง

 

 

หุ่นรูปที่ 4
อยู่ที่ศาลาสุธรรมรัตราฎร์บำรุง วัดทับกระดานในชุดสีชมพูคณะกรรมวัดร่วมกับแฟนเพลงที่ได้มากราบไหว้และบนบานไว้จนประสบผลสำเร็จร่วมกันสร้างอยู่ในชุดนางพญาเสือดาว ที่พุ่มพวงขึ้นร้องเพลงบนเวทีคอนเสิร์ต 7 สี ครั้งแรก เป็นหุ่นปลดหนี ประชาชนส่วนใหญ่จะจุดธูปมากราบไหว้ขอโชคลาภ

 

 

หุ่นรูปที่ 5
อยู่ที่วิหารห้องกระจก รูปเหมือนพระครูสุธรรมรัต หรือหลวงพ่อบวช ตุลายโก อดีตเจ้าอาวาส วัดทับกระดาน ซึ่งเป็นเคารพนับถือของพุ่มพวง ดวงจันทร์ เป็นหุ่นที่พุ่มพวงดวงจันทร์ ตอนสมัยที่ใช้ชื่อน้ำผึ้ง เมืองสุพรรณ ซึ่งอยู่ในชุดเสวนาธรรม ตอนที่พุ่มพวงมาขอพรหลวงพ่อบวช อดีตเจ้าอาวาสวัดทับกระดาน ของให้เป็นนักร้องที่มีชื่อเสียงโด่งดัง โดยมีเพลงหัวใจถวายวัด ที่สร้างชื่อเสียงในสมัยนั้น คณะกรรมร่วมกับทางบรรดาญาติๆ ของพุ่มพวงเป็นผู้สร้าง

 

 

หุ่นรูปที่ 6
อยู่ที่ศาลาสุธรรมรัตราษฎร์บำรุง วัดทับกระดาน ในชุดสีทอง ใหม่ เจริญปุระ เป็นผู้สร้างไว้บูชาครูเพลงพุ่มพวง เป็นหุ่นสีทอง มีลักษณะแบบใหม่ เจริญปุระ

 

ย้อนอดีต อาถรรพ์พุ่มพวง  ดวงจันทร์ คลิก!

 

 

ขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก wikipedia , thaimusicstory.com, alteregobkk.com

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook