ความเชื่อ "วันครีษมายัน" 21 มิ.ย. กลางวันยาวนานที่สุดในรอบปี

ความเชื่อ "วันครีษมายัน" 21 มิ.ย. กลางวันยาวนานที่สุดในรอบปี

ความเชื่อ "วันครีษมายัน" 21 มิ.ย. กลางวันยาวนานที่สุดในรอบปี
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ครีษมายัน (ครีด-สะ-มา-ยัน) หรือ อุตตรายัน (summer solstice) เป็นวันที่ดวงอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออกเฉียงไปทางเหนือมากที่สุด และตกทางทิศตะวันตกเฉียงไปทางเหนือมากที่สุด ส่งผลให้ช่วงเวลากลางวันยาวที่สุดในรอบปี สำหรับประเทศทางซีกโลกเหนือ นับเป็นวันที่ย่างเข้าสู่ฤดูร้อน ส่วนประเทศทางซีกโลกใต้ช่วงกลางวันจะสั้นที่สุดในรอบปี นับเป็นวันที่ย่างเข้าสู่ฤดูหนาว

วันครีษมายันวันครีษมายัน

และเป็นการที่ดวงอาทิตย์ โคจรไปถึงจุดหยุด (Solstice) คือ จุดสุดทางเหนือในช่วงวันที่ 20 มิถุนายน หรือ 21 มิถุนายน ซึ่งเป็นจุดในหน้าร้อน และมีกลางวันยาวนานกว่ากลางคืน หรือกลางวันยาวนานที่สุดในรอบปีของประเทศทางซีกโลกเหนือ ส่วนในประเทศไทยนั้น วันดังกล่าวดวงอาทิตย์จะปรากฎอยู่บนท้องฟ้าเกือบ 13 ชั่วโมง

ด้านความเชื่อและการเฉลิมฉลองใน "วันครีษมายัน" แตกต่างกันไปตามแต่ประเพณีทั่วโลก ดังต่อไปนี้

  • วันเหมายัน ที่เมืองยวี่หลิน ในเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง ของ จีน ในวันเริ่มต้นของฤดูร้อนของเดือนมิถุนายน หรือวันครีษมายัน ที่นี่จะมีประเพณีรื่นเริงรับประทานเนื้อสุนัข

  • วันเหมายัน ที่ประเทศไต้หวัน ประเทศนี้ตั้งอยู่ในเส้นรุ้ง 23.5 องศาเหนือพอดี ซึ่งได้สร้างแลนด์มาร์กให้ดวงอาทิตย์ส่องตรงลงมายังพื้นในลักษณะมุมฉาก และให้เป็นหนึ่งในเสน่ห์แห่งการท่องเที่ยวที่เป็นทั้งวิทยาศาสตร์ และศาสตร์แห่งความเชื่อ ประเทศไต้หวัน มีการโปรโมทเทศกาล Summer Solstice อย่างเป็นทางการ โดยจะมีรายได้จากนักท่องเที่ยวชาวเอเชียที่มีความเชื่อเกี่ยวกับ การรับพลังสุริยะ

  • วันเหมายัน ที่กองหินสโตนจ์เฮ้นน์ (Stonehenge) ณ ประเทศอังกฤษ จะมีผู้คนแห่กันไปรับพลังสุริยะเทพอย่างแน่นหนาเพราะเขาเหล่านั้นมีความเชื่อที่ถ่ายทอดกันมาตั้งแต่ยุคชาวดรูอิทโบราณหลายพันปี หลายปีที่แล้วมีคนจำนวนหนึ่งถึงขนาดลงทุนเปลือยกายปีนขึ้นไปรับพลังข้างบนแท่งหินเป็นข่าวใหญ่ไปทั่วโลก ซึ่งทางรัฐบาลท้องถิ่นต้องออกกฎหมายบังคับห้ามเด็ดขาด แต่ก็ยังมีคนพยายามทำอีกเพราะเป็นเรื่องของความเชื่อ ในวันนี้ดวงอาทิตย์จะขึ้นตรงกับก้อนหินที่มีชื่อ Heel Stone
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook