วิธีปฏิบัติตัวในการใส่บาตรเพื่อให้ได้บุญมาก!

วิธีปฏิบัติตัวในการใส่บาตรเพื่อให้ได้บุญมาก!

วิธีปฏิบัติตัวในการใส่บาตรเพื่อให้ได้บุญมาก!
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

1. ขณะที่เรากำลังยืนรอใส่บาตรให้ทำจิตตั้งมั่นไว้ว่าจะใส่บาตรโดยไม่เจาะจงพระภิกษุหรือเณรรูปใด บางคนเจาะจงรอใส่บาตรเพราะมีความรู้จักเป็นการส่วนตัวกับพระภิกษุรูปนั้นๆ อาจเป็น ลูกหลานที่ไปบวช หรือ เจาะจงจะใส่กับพระอาจารย์ หลวงพ่อ หรือ เจ้าอาวาสวัด เพราะเชื่อว่าจะได้บุญมากกว่าการใส่บาตรให้พระที่ไม่มีความสนิทสนม เมื่อพระเณรรูปใดเดินผ่านมาก็ทำการใส่บาตรไปตามลำดับจนหมด การใส่บาตรโดยไม่เจาะจงนี้พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญว่ามีอานิสงส์มากกว่าการใส่บาตรโดยเจาะจง

2. เมื่อพระภิกษุเดินมาใกล้จะถึงที่ที่เรายืนอยู่ให้พึงอธิษฐานจิตเสียก่อนโดยถือขันข้าวด้วยมือทั้งสองข้างยกขันข้าวขึ้นเสมอหน้าผากพร้อมกับนั่งกระหย่งปลายเท้าลงแล้วกล่าวคำอธิษฐานว่า “สุทินนัง วะตะ เม ทานัง อาสะวักขะยาวะหัง โหตุ” แปลว่าทานที่ข้าพเจ้าถวายดีแล้วนี้ จงเป็นเครื่องนำมาซึ่งความสิ้นกิเลสเถิด” อาจจะอธิษฐานในใจก็ได้

3. จากนั้นลุกขึ้นยืนและถอดรองเท้า หลายคนสงสัยว่าทำไมเราต้องถอดรองเท้าในขณะที่กำลังจะใส่บาตร นั่นก็เพราะการสวมรองเท้าอยู่แสดงว่าเรายืนสูงกว่าพระ ถือเป็นการไม่สมควรเหมือนเป็นการขาดความเคารพแต่ก็พอจะมีกรณียกเว้นอยู่บ้างหากมีความจำเป็น เช่น เท้าเจ็บหรือพื้นที่ที่ยืนอยู่เป็นที่น้ำขังเฉอะแฉะหรือไม่อาจจะหลีกเลี่ยงที่จะยืนในที่แห่งนั้นได้ก็สามารถทำได้ แต่ที่ไม่ควรทำเป็นอย่างยิ่งก็คือบางคนถอดรองเท้าก็จริงอยู่แต่กลับไปยืนอยู่บนรองเท้าเสียอีก ทำให้เรายืนอยู่กว่าพระไปกันใหญ่ ดังนั้นถ้าตั้งใจจะใส่รองเท้าเพื่อการใส่บาตรให้ได้จริง ๆก็ควรจัดที่ให้พระสงฆ์ยืนอยู่สูงกว่า

4. เมื่อใส่บาตรเสร็จแล้วถ้ามีโต๊ะรองอาหารหรือรถยนต์จอดอยู่ด้วยให้วางขันข้าวบนนั้นยืนตรงน้อมตัวลงไว้พระภิกษุและสามเณร แต่ถ้าหากตักบาตรอยู่ริมทางโดยไม่มีโต๊ะควรนั่งลงแล้ววางขันข้าวไว้ข้างตัวยกมือไว้พระสงฆ์พร้อมกับอธิษฐานว่า “นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง, สังโฆ เม สะระณัง วะรัง, เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โสตถิ เม โหตุ สัพพะทา” แปลว่าสรณะอื่นของข้าพเจ้าไม่มี พระสงฆ์เป็นสรณะอันประเสริฐของข้าพเจ้า ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้ขอให้ข้าพเจ้าเจริญในพระศาสนาของพระศาสดาเถิด”

5. หลังจากนั้นควรอุทิศส่วนกุศลให้แก่บรรพบุรุษผู้ล่วงลับไปแล้วด้วยการกรวดน้ำและกล่าวว่า “อิทัง เม ญาตีนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ ญาตะโย ขอบุญทั้งหลังจงสำเร็จแก่ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้า ขอให้ญาติของข้าพเจ้าทั้งหลายจงเป็นสุข เป็นสุขเถิด”

สิ่งสำคัญที่สุดหลังการใส่บาตร อย่าได้มีคำถามว่าการทำบุญนี้จะส่งผลถึงตัวบรรพบุรุษผู้ล่วงลับไปแล้วหรือไม่นั้นไม่สำคัญ เพราะหลักสำคัญแห่งการให้ทานอยู่ที่ว่าการทำทานช่วยให้เราเกิดจิตที่ปีติและสิ้นความตระหนี่เกิดความอิ่มใจว่าเราได้ทำหน้าที่ของมนุษย์ที่ดีครบถ้วนแล้ว ไม่มีสิ่งบกพร่องก็น่าจะเป็นการเพียงพอ เป็นหลักการคิดที่จะช่วยให้จิตภายหลังในการให้ทานนั้นเกิดความบริสุทธิ์ต่อไปอย่างยาวนาน

ซึ่งตรงกับหลักการให้ทาน ว่าด้วยเรื่อง เจตนาของการให้ทานในระยะที่สาม คือ หลังจากการให้ไปแล้วเมื่อกลับมาหวนคิดถึงการให้ในครั้งนี้ก็จะไม่มีความกังวลว่า จะมีใครได้รับผลแห่งทานหรือเปล่า แต่กลับกลายเป็นว่า เมื่อหวนคิดถึงทานที่ตนเองได้กระทำในครั้งนี้ ไม่ว่าครั้งใดก็ตามที่นึกถึง ก็จะมีความร่าเริงเบิกบาน ยินดีในทานนั้น ๆ เสมอ ภายหลังการใส่บาตรแล้วเราจะสามารถตามพระท่านไปที่วัดก็ได้ เมื่อพระท่านได้ฉันอาหารเสร็จแล้วก็ยังมีข้อปฏิบัติต่อเนื่องไปอีกเพราะบางท่านอาจจะอยู่รอจนพระท่านฉันอาหารเสร็จเลยก็ได้

ถ้ากรณีที่พระออกบิณฑบาตแล้วได้อาหารเพิ่มมามากมายจากการถวายของโยมที่เป็นการรู้จักส่วนตัว และมีปริมาณมากเกินกว่าที่จะฉันภายในก่อนเที่ยงได้หมด อาหารส่วนที่เหลือพระรูปนั้นสามารถให้ญาติโยมผู้นั้นหรือคนอื่นๆ นำอาหารนั้นกลับไปรับประทานต่อได้เลยทันที แต่มีโยมมาถวายอาหารเพิ่มโดยขอให้ถวายเป็นของสงฆ์ก็ต้องดูกติกาที่คณะสงฆ์ภายในวัดนั้นๆได้ประกาศไว้ก่อนซึ่งอาจมีความแตกต่างกันบ้างในบางวัด

แต่โดยส่วนมากก็จะประกาศกันไว้ล่วงหน้าว่า อาหาร ผลไม้หรือสิ่งของอื่นใดๆ ที่เขาถวายแต่สงฆ์ เมื่อตกเข้ามาเป็นลาภของวัดนี้ก็จะมีการแบ่งกันฉันแบ่งกันใช้ เริ่มตั้งแต่พระมหาเถระ,พระเถระ,พระมัชฌิมา,พระนวกะ (พระบวชใหม่), สามเณร, แม่ชี และโยมผู้รับใช้วัดไปตามลำดับ เมื่อมีกติกาไว้แล้วโดยประมาณนี้ทุกคนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับวัดนั้นๆ ก็ให้รับทราบว่าต้องกินต้องใช้ต่อกันไปตามลำดับโดยไม่ต้องประกาศกันบ่อยๆ และเมื่อพระ , เณร , ชี พิจารณาอาหารฉันกันเพียงพอแก่ความต้องการแล้วก็สามารถให้ต่อไปยังบรรดาโยมทั่วไปได้ทันที

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook