ประวัติ ความเชื่อเรื่องคาถา

ประวัติ ความเชื่อเรื่องคาถา

ประวัติ ความเชื่อเรื่องคาถา
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

คาถาอาคม ความเชื่อของคนไทยโบราณที่เราเคยได้ยินมาตั้งแต่สมัยก่อน พอมาในยุคปัจจุบันแม้จะไม้มีความเชื่อกันมาเหมือนสมัยก่อน เพราะความที่ว่าคาถาไม่มีข้อพิสูจน์ที่แท้จริงไม่สามารถเห็นได้ด้วยตา เป็นเพียงความเชื่อเท่านั้น และแน่นอนยังคงมีหลายคนที่สงสัยว่าแท้จริงแล้ว "คาถา อาคม" ต่างๆ ที่เกิดขึ้นมามีประวัติความเป็นมาอย่างไร เกิดขึ้นได้อย่างไร Sanook! Horoscope รวบรวมข้อมูลเอาไว้ให้ได้ทราบกันดังนี้

 

ประวัติ ความเชื่อเรื่องคาถาประวัติ ความเชื่อเรื่องคาถา

 

และความเป็นมาของคาถา

พระคาถาหรือคาถา เป็นวิชาอาคมที่ใช้ให้มีความศักดิ์สิทธิ์ โดยมี "คาถา" เป็นองค์ภาวนาเพื่อสร้างกระแสจิต แพร่หลายเป็นอย่างมากเมื่อครั้งสมัยพุทธกาลพระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรือง ก่อนที่จะเกิดการสังคายนาพระพุทธศาสนาครั้งที่ 3 (ตติยสังคายนา)  และต่อมาศาสนาพุทธกับพราหมณ์ในอินเดียได้ผสมผสานกันมา จนเกิดมีลัทธิ พุทธตันตระ (ลัทธิพุทธศาสนาอันเกี่ยวกับการใช้คาถา-อาคมพระคาถา)เกิดขึ้น อีกลัทธิหนึ่ง

ศาสนาพราหมณ์ในขณะนั้น มีความมั่นคงเลื่อมใสในลัทธิไสยศาสตร์มาก มีการใช้เวทมนตร์ "คาถา" เป่าพ่นปลุกเสกและลงเลขยันต์ ประกอบ อาถรรพ์ต่างๆ แม้ในทางพระพุทธศาสนาก็ใช่ว่าจะปฏิเสธเสียทีเดียว เพราะพระพุทธศาสนาเองก็ยังมีคุณอัศจรรย์ ที่จัดเป็น ปาฏิหาริย์ไว้ 2 อย่าง คือ

1. อนุสาสนีปาฏิหาริย์ คำสอนที่เป็นอัศจรรย์

2. อิทธิปาฏิหาริย์ ฤทธิ์ที่เป็นอัศจรรย์

การใช้เวทมนตร์คาถานั้น ผลสำเร็จจะเกิดขึ้นได้ก็อยู่ที่ดวงจิตสำรวมเป็นสมาธิ และสมาธินี้ท่านจัดบนฐาน แห่งวิปัสสนาญาณถึงแม้หาก ว่าปุถุชนเราจะบรรลุได้อย่างสูงไม่เกินฌานสมาบัติก็ตามกระนั้นก็สามารถที่จะแสดงอิทธิฤทธิ์ ได้ตามภูมิของตน เช่น พระเทวทัตต์หนแรกที่เธอได้รูปฌาน เธอก็ยังสามารถบิดเบือน แปลงกายกระทำอวด ให้อชาตศัตรูกุมารหลงใหลเลื่อมใสได้

เพื่อผลในทางอิทธิปาฏิหาริย์ที่ตนมุ่งหวังปรารถนา พระคาถาและการทำสมาธิแบบนี้ ได้แพร่หลายมากขึ้น ได้เกิดมีคณาจารย์มุ่งสั่งสอนเวทมนตร์กัน และได้ดัดแปลงแก้ไขวิธีการทางไสยศาสตร์ ของพราหมณ์มาใช้ โดยคัดตัดตอนเอาเนื้อมนต์ของพราหมณ์นั้นออกเสีย บรรจุพระพุทธมนต์แทรกเข้าไปแทน เพราะมาคิดเห็นกันว่ามนต์พราหมณ์ยังเรืองอานุภาพถึงอย่างนี้ ถ้าหากว่า เป็นพุทธมนต์ คงจะยิ่งกว่าเป็นแน่

ฉะนั้นในการใช้เวทมนตร์คาถาที่พวกเราพุทธศาสนิกชนปฏิบัติกันทุกวันนี้ จึงล้วนแล้วแต่เป็นพระพุทธมนต์ที่ท่าน โบราณาจารย์ดัดแปลง แก้ไขเลียนแบบอย่างวิธีทางลัทธิไสยศาสตร์เดิมมาเท่านั้นหาใช่เป็นลัทธิไสยศาสตร์ ของพราหมณ์ดังที่บางท่านเข้าใจกันไม่

ประวัติ ความเชื่อเรื่องคาถาประวัติ ความเชื่อเรื่องคาถา

ความหมายของคาถา และ เวทมนต์คาถา

ความหมายของคำว่า “คาถา” พระคาถา และวิชาอาคมในความหมายของคนปัจจุบัน คือการใช้คาถาให้มีความศักดิ์สิทธิ์ โดยการภาวนาเพื่อสร้างกระแสจิต บทคาถาต่างๆ ทั้ง คาถาชินบัญชร คาถาทางเมตตามหานิยม คาถาทางคงกระพันชาตรี คาถาแคล้วคลาด คาถาแผ่ส่วนกุศล คาถาแผ่เมตตา คาถากันของไม่ดี หัวใจพระคาถาต่างๆ คาถาบูชาเทพเจ้า คาถาบูชาพระพุทธรูปต่างๆ

ซึ่งคาถาต่างๆ เป็นคาถาที่สืบทอดกันมาแต่โบราณ สมัยก่อนคนจะใช้คาถาต่างๆได้สัมฤทธิผลกันมากเนื่องจากมีความเชื่อความศรัทธาและสัจจะเป็นสำคัญ ส่วนการท่องหรือตัวอักษรอักขระการออกเสียงต่างๆ อาจจะมีแตกต่างกันไปบ้าง ส่วนสำคัญอยู่ที่ความมั่นใจและตั้งมั่นมากกว่า ยกตัวอย่างง่ายๆ แค่ บทสวดมนต์ต่างๆ การออกเสียงในส่วนของภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคใต้ และภาคอีสาน ก็ต่างกันแล้ว แต่ทำไมถึงมีความศักดิ์สิทธิ์เหมือนกันละ ก็เพราะความตั้งมั่น ไม่สงสัยในครูบาอาจารย์ที่อบรมสั่งสอนมานั่นเอง

เวทมนต์คาถาใดๆ ก็ตามถ้าหากว่าเราจะต้องท่องให้จำได้ ก็จะต้องทำใจให้บริสุทธิ์ อาบน้ำชำระล้างสิ่งโสโครกให้สะอาดเสียก่อน แล้วก็นำดอกไม้ธูปเทียนบูชาพระ แล้วก็ระลึกเป็นการขอพรบารมี ให้ท่องได้ง่ายจำได้แม่น แล้วก็กราบตำรานั้น 3 ครั้ง ต่อจากนั้นก็เปิดขึ้นมาท่องจำ หนังสือนั้นอย่าเหยียบอย่าข้าม อย่านั่งทับหรือนอนทับ ขณะท่องอย่านอนหลับให้หนังสือทับคาอก จะทำให้ปัญญาเสื่อม

เมื่อจะท่องหรือจะใช้พระคาถาใด ๆ ทุก ๆ พระคาถา จะต้องตั้ง นะโม 3 จบก่อน

นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

เมื่อเข้าใจว่าการใช้คาถาเป็นองค์ภาวนาเพื่อสร้างกระแสจิต ในตนสร้างความเชื่อมั่น และโน้มน้าวจิตตามวัตถุประสงค์ แล้วก้ตั้งจิตให้มั่นภาวนาคาถาได้ตามต้องการ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นจะหวังพึ่งคาถาอย่างเดียวคงไม่ได้ หากใจเราต้องบริสุทธิ์ คิดดี ทำดีละเว้นความชั่วไม่เบียดเบียนผู้อื่น ก็จะยิ่งส่งผลให้พระคาถาที่ท่องบำเพ็ญภาวนาสำเร็จไปได้ด้วยดี 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook