การไหว้เจ้าให้ถูกต้องตามหลักวิชาฮวงจุ้ย

การไหว้เจ้าให้ถูกต้องตามหลักวิชาฮวงจุ้ย

การไหว้เจ้าให้ถูกต้องตามหลักวิชาฮวงจุ้ย
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

คนทั่วไปต่างทราบกันดีว่า สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่คนจีนเคารพบูชามีอยู่มากมาย ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็น ฟ้า ดิน พระ เทพเจ้า หรือแม้แต่เซียนทั้งหลาย แต่การที่จะตั้งสิ่งศักดิ์สิทธิ์องค์ใดในบ้านเรือนนั้น ขึ้นอยู่กับศรัทธาและความเชื่อถือของแต่ละคน ข้อสำคัญคือ ไม่ว่าจะตั้งบูชาสิ่งใดๆ เอาไว้ในบ้าน คนจีนมัก จะเรียกศักดิ์สิทธิ์ที่ตั้งไว้ว่า "เจ้า" ทั้งสิ้น สำหรับ เรื่องของการกราบไหว้ บูชา ขอพรต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายทั้งปวงนั้น คนจีนถือกันมาแต่โบร่ำโบราณว่า "การจะไหว้เจ้าให้ได้สมความปรารถนา หรือ ประสบความสำเร็จตามที่ต้องการนั้น ต้องประกอบไปด้วย ศรัทธา สมาธิ เครื่องบวงสรวงเซ่นไหว้ ขั้นตอน ทิศทางและฤกษ์ยามในการไหว้" โดยมีรายละเอียดที่สำคัญและควรเรียนรู้ดังต่อไปนี้

การไหว้เจ้าให้ถูกต้องตามหลักวิชาฮวงจุ้ยการไหว้เจ้าให้ถูกต้องตามหลักวิชาฮวงจุ้ย

1. ที่ตั้งเจ้า ในวิชาฮวงจุ้ยกล่าวไว้ว่า ที่ตั้งเจ้า เป็นหนึ่ง ในตำแหน่งสำคัญที่กำหนดเอาไว้ใน "ลิวซื่อ" หรือ หกตำแหน่งที่สามารถส่งผลกระทบดีร้ายกับชีวิตและดวงชะตาของคนในบ้านได้ ดังนั้น ตำแหน่งที่ตั้งเจ้าในอาคารบ้านเรือน นั้น นอกจาก จะต้องกำหนดที่ตั้งให้สอดคล้องกับหลักฮวงจุ้ยรูปลักษณ์แล้ว ยังจะต้องตั้งวางอยู่ในตำแหน่งมงคลของบ้าน อีกด้วย กล่าวคือ

- การตั้งเจ้าให้ถูกต้อง ตามหลักวิชาฮวงจุ้ยรูปลักษณ์นั้น จะต้องไม่ตั้งเจ้าหันหน้าไปทางหลังบ้านอย่างเด็ดขาด ทั้งนี้เพราะเจ้าที่หันหน้าไปทางหลังบ้านจะขาดไร้ความสามารถ ในการปกป้องคุ้มครองคนในบ้าน
- การตั้งเจ้าที่ดี ตั้งไม่วางอยู่ในตำแหน่งหลังอิงบันได อิงห้องน้ำ หรืออิงเตาไฟ เพราะจะทำให้คนในบ้าน ไร้วาสนา ขาดบารมี ไม่มีคนนับหน้าถือตา ไม่ตั้งหิ้งพระเอาไว้เหนือประตูทางเข้า ไม่ตั้งหิ้งบรรพบุรุษหันไปทางโต๊ะอาหาร
- ตำแหน่ง "ที่ตั้งเจ้า" ที่เป็นมงคลมากที่สุด ก็คือ ตำแหน่งประธานของบ้าน ซึ่งก็คือ พื้นที่บริเวณตำแหน่งหลังอิงของบ้าน นั่นเอง

2.การไหว้เจ้าในบ้าน ถ้ามีหลายตำแหน่งจะต้องเริ่มจากการไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์อันดับสูงสุดเป็นอันดับแรกก่อน จากนั้น ก็ให้ไหว้เรียงลำดับตามความสำคัญลงมา ซึ่งตามปกติกำหนดเอาไว้ตามลำดับเอาไว้ดังนี้

1. พระพุทธเจ้า
2. พระอรหันต์
3. พระโพธิสัตว์
4. ปึงเถ้ากง
5. เจ้าที่ตี่จู๋เอี้ย
6. หิ้งบรรพบุรุษ และ
7. สัมภเวสี

3. ในกรณีที่จะไปกราบไหว้เจ้านอกบ้าน ผู้รอบรู้แนะนำว่า ควรกราบไหว้บูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ภายในบ้านให้เสร็จสมบูรณ์เสียก่อน ทั้งนี้ เพื่อขอให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ในบ้านโปรดช่วยปกปักรักษาบ้านเรือน รวมทั้งคนในบ้านในขณะที่เราไม่อยู่ ขอให้ช่วยปกป้องคุ้มครองความปลอดภัยขณะเดินทางไปไหว้เจ้า อีกทั้ง ขอให้ประสบความสำเร็จในสิ่งที่เราปรารถนาทุกอย่างทุกประการ เช่น จะเดินทางไปเข้ากรรมฐาน ก็ขอให้ ประสบความสำเร็จในการเจริญกรรมฐาน จะเดินทางไปขอความช่วยเหลือจากเจ้านอกบ้านก็ขอให้ประสบความสำเร็จ จะเดินทางไปขอลาภลอยลาภเสี่ยงก็ขอให้ได้รับผลดี เป็นต้น แต่ทั้งนี้ ต้องแน่ใจว่าก่อนออกจากบ้าน ธูปเทียนที่ไหว้พระในบ้านนั้นดับเรียบร้อยแล้ว


การไหว้เจ้าให้ถูกต้องตามหลักวิชาฮวงจุ้ยการไหว้เจ้าให้ถูกต้องตามหลักวิชาฮวงจุ้ย


4. เครื่องบวงสรวงเซ่นไหว้ ในหลักวิชาฮวงจุ้ยแนะนำว่า การไหว้เจ้า ทั้งนอกบ้านในบ้านนั้น ตามปกติจะกราบไหว้บูชาโดยใช้เพียง ดอกไม้ ธูป เทียนก็ย่อมได้ แต่ในกรณีที่ไหว้ตามพิธีการ หรือไหว้ตามกาลเวลาที่กำหนด เช่น ไหว้ฟ้าดินเพื่อตั้งตี้จู๋เอี้ย ไหว้ขนมจ้าง ไหว้ขนมบัวลอย ก็สมควรต้องใช้เครื่องเซ่นไหว้ด้วยจึงจะเป็นมงคล ทั้งนี้ จะใช้เครื่องเซ่นไหว้ จำนวน 3 อย่าง 5 อย่าง หรือ 10 อย่าง ก็ได้ หมายเหตุ ให้ละเว้นเครื่องเซ่นไหว้จำนวน 1 อย่าง กับ 7 อย่าง ทั้งนี้

เพราะคนจีนถือมาแต่โบราณว่า การไหว้เจ้าด้วยของเซ่นไหว้เพียงอย่างเดียวจะทำให้ผู้ไหว้เกิดความโดดเดี่ยว ในขณะที่ ใช้เครื่องเซ่นไหว้ จำนวน 7 อย่าง ถือเป็นจำนวนอัปมงคลสำหรับ การเลือกเครื่องเซ่นไหว้บูชาเทพเจ้านั้น คนจีนโบราณมีวิธีการพิจารณามากมายหลายหลักการ เช่น ไหว้เจ้าในฤดูร้อนควรไหว้ด้วยอาหารที่ย่อยง่าย ไหว้เจ้าในฤดูหนาวควรไหว้ด้วยอาหารย่อยยาก หรือ ไหว้เจ้าตอนเช้าส่วนมากนิยมไหว้ด้วยของสด ไหว้เจ้าหลังเที่ยงนิยมใช้เป็นของแห้ง เป็นต้น อย่างไรก็ตาม หลักการเลือกเครื่องเซ่นไหว้ที่สำคัญและคนให้ความสนใจมากที่สุด ก็คือ การเลือกตามความหมายขเครื่องเซ่นบูชา เช่น

- น้ำชา จะช่วยให้เกิดความสัมพันธ์ การติดต่อประสานงานที่ดี
- ปลา เป็นสัญลักษณ์ของโชคลาภ หรือ การมีกินมีใช้ตลอดทั้งปี
- วุ้นเส้น หมี่เหลือง เพื่อให้มีอายุที่ยืนยาว และเป็นสุข
- เต้าหู้ (ก้อน) เพื่อให้มียศถาบรรดาศักดิ์ ได้เลื่อนยศเลื่อนตำแหน่ง
- กระเพาะหมู เพื่อให้มีความเป็นอยู่ที่ดี หรือมีกินมีใช้สมบูรณ์
- กระเทียม (ผักมงคล) เพื่อให้ลูกหลานดี มีผู้สืบสกุลที่ดี
- ขนมกู๋ช่าย (รูปใบโพธิ์เคลือบสีแดง) เพื่อให้สมความปรารถนา มีอายุยืนนาน
- ซาลาเปา เพื่อให้มีเงินเหลือเก็บเหลือใช้ หรือมีเงินทองเพิ่มพูน
- ขนมถ้วยฟู เพื่อให้คนในบ้านเจริญรุ่งเรือง มั่งคั่งร่ำรวยรวดเร็ว
- ขนมบัวลอยแดง (สาคูแดง) เพื่อให้คนในบ้านมีความสามัคคีกลมเกลียว
- ถั่วงา (ถั่วตัด แตงเคลือบน้ำตาล) เพื่อให้การกินอยู่มีความอุดมสมบูรณ์
- ส้ม เพื่อความเป็นมงคล ขอความโชคดี มั่งคั่งร่ำรวย
- กล้วยหอม กวักเงิน กวักทอง เรียกโชคลาภเข้าบ้าน
- ลูกพลับ เพื่อให้คนในบ้านมีมนุษย์สัมพันธ์ดี
- แอปเปิ้ล เพื่อความเสมอภาค ทำสิ่งใดมีแต่ความราบรื่น
- องุ่น เพื่อให้เกิดโชคลาภเป็นกลุ่มก้อน มีความเจริญรุ่งเรือง
- สัปปะรด เพื่อให้หูตากว้างไกล ดูแลอย่างทั่วถึง
- สาลี่ เพื่อให้บังเกิดผล (ตามที่ปรารถนา) รวดเร็วขึ้น
- ลำไย (ผลไม้เป็นพวง) เพื่อให้เกิดโชคลาภและความอุดมสมบูรณ์

>>>อ่านความหมายของไหว้วันตรุษจีน คลิก!

ขอบคุณข้อมูลจาก ฮวงจุ้ย.com
ขอบคุณภาพประกอบจาก Photos.com

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook