ตำนานวันลอยกระทง

ตำนานวันลอยกระทง

ตำนานวันลอยกระทง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

วันลอยกระทง เป็นประเพณีไทยที่ทำเพื่อขอขมาพระแม่คงคา ในปีนี้ วันลอยกระทง ตรงกับ วันพฤหัสบดีที่ 22 พฤศจิกายน 2561

ในอดีตมีความเชื่อว่า พระพุทธเจ้าลงมาบังเกิดช่วยเหลือสัตว์โลกตามกัปกัลป์ต่างๆ รวมองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์พระโคตมะนับได้ 28 องค์ ส่วนทางคติอาจริยวาทหรือมหายาน เชื่อว่ามีอดีตพุทธเจ้ามากมายนับพันองค์ทีเดียว

ในสยามประเทศที่ถือคติเถรวาทเชื่อว่า กาลเวลาทางศาสนาจะแบ่งออกเป็น กัป หรือ กัลป์ ต่างๆ นับโดยนำผ้าอันเบาบางประดุจหมอกควันมาเช็ดถูขุนเขาที่มีขนาดกว้างหนึ่งโยชน์ สูงหนึ่งโยชน์ ยาวหนึ่งโยชน์ ปีละหนึ่งครั้ง เมื่อขุนเขาราบเรียบจนเป็นหนึ่งเดียวกับพื้นพสุธาเท่ากับเวลา 1 กัป

ตำนานลอยกระทง

กาลเวลาในปัจจุบันเชื่อว่า ศาสนาจะอยู่ในยุคภัทรกัป ซึ่งจะมีพระพุทธเจ้าลงมาบังเกิดถึง 5 พระองค์ ปรากฏการผูกเรื่องเป็นตำนานกล่าวถึง พญากาเผือกสองตัวผัวเมียทำรังอยู่ บนต้นมะเดื่อริมฝั่งคงคามหานที จนบังเกิดพระโพธิสัตว์ปฏิสนธิในครรโภทรของนาง พญากาเผือก ซึ่งตกไข่ออกมาถึง 5 ฟอง

เมื่อถึงคราวจะบังเกิดองค์พระพุทธเจ้า กิ่งมะเดื่ออันเป็นรังกาหักโค่นลงตามแรงพายุ ขณะที่พญากาเผือกออกไปหาอาหาร ครั้นกลับมา ให้ทุกขเวทนาตามหาฟองไข่ไม่เจอจนสิ้นใจ ด้วยความรักอันบริสุทธิ์ทำให้นางพญากาเผือกไปบังเกิดยังสวรรค์ได้พระนามว่า "ฆติกามหาพรหม" ส่วนไข่กาเผือกทั้ง 5 ได้ไหลไปตามน้ำและมีผู้เก็บได้คือ แม่ไก่เก็บได้ฟองหนึ่ง, แม่นาคราชเก็บได้ฟองหนึ่ง, แม่เต่าเก็บได้ฟองหนึ่ง, แม่โคเก็บได้ฟองหนึ่ง และแม่ราชสีห์เก็บได้ฟองหนึ่ง

ต่อมาปรากฏฟักเป็นมนุษย์มีรูปร่างงดงามและเสด็จออกผนวชจนตรัสรู้พระสัมโพธิญาณ จึงขนานพุทธนาม เพื่อเป็นบุญและอนุสรณ์แก่นางผู้เก็บไข่รักษาไว้จนกำเนิดว่า ด้วยความกตัญญู ทั้ง 5 พระองค์ ได้อธิษฐานจิตให้ได้พบนางพญากาเผือกผู้เป็นแม่อันแท้จริงก่อนการตรัสรู้ บรรดาพระโพธิสัตว์ทั้งห้าพากันทอเส้นฝ้ายปั่นเป็นด้ายแผ่เป็นรอยตีนกา เพื่อรำลึกถึงคุณของบิดา-มารดาที่เคยเสวยชาติเป็นกาเผือก จุดเป็นประทีปลอยลงเพื่อบูชาพระแม่คงคาที่ช่วยปกปักรักษาให้รอดแต่ครั้งยัง เป็นไข่กา และบูชาคุณพญากาเผือก โคมประทีปที่จุดจากด้าย

ซึ่งแผ่เป็นตีนกานั้นส่องขึ้นไปถึงฆติกา มหาพรหม หรือนางพญากาเผือก จนมองลงมาเห็นลูกรักที่ตั้งสัตย์อธิษฐานบูชาคุณจนโลกนาถหวาดไหว มหาพรหมจึงเหาะลงมาพบกับลูกทั้งห้าตามแสงโคมประทีปและถวายเครื่องทรงผนวช จนทุกพระองค์สำเร็จพระสัมมาสัมโพธิญาณ

 

ตำนานวันลอยกระทง ตำนานวันลอยกระทง

ต่อมาสาธุชนจึงสืบทอดเป็นประเพณี "จุดโคมประทีปลอยกระทง"ทุกวันเพ็ญเดือนสิบสอง และให้ผู้เป็นมารดาทำหน้าที่ถวายผ้าไตรกับบุตรผู้จะถือบวชสืบมาตั้งแต่บัดนั้น ด้วยเหตุตามกล่าวนี้ โบราณาจารย์และศาสนิกชน จึงเปล่งคำบูชาพระเจ้าห้าพระองค์ว่า "นะ โม พุท ธา ยะ" และจัดสร้างพระพิมพ์รูปพระพุทธเจ้าห้าพระองค์ อันนับว่าเป็นของดีอย่างหนึ่งที่จะช่วยคุ้มครองป้องกันภัย

เช่น พระพิมพ์พระพุทธเจ้าห้าพระองค์ ของ หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน, หลวงพ่อเนียม วัดน้อย, หลวงปู่ทอง วัดราชโยธา ซึ่งล้วนแล้วแต่ได้รับความนิยมและหายากทั้งสิ้น เวลากราบพระหากเอ่ยคาถา "นะ โม พุท ธา ยะ" พร้อมกันไปด้วย คนโบราณถือว่าได้บูชาพระพุทธเจ้าคราวเดียวถึง 5 พระองค์ ซึ่งจะคุ้มครองป้องกันและปัดเป่าเภทภัย

 

การขอขมาพระแม่คงคาการขอขมาพระแม่คงคา

นอกจากนี้ยังมีความเชื่อเกี่ยวกับวันลอยกระทงอีกอย่างหนึ่งคือ การขอขมาพระแม่คงคา ที่มีน้ำให้เราได้ดื่มได้ใช้กัน โดยมีความเชื่อดังต่อไปนี้

- เป็นการขอขมาพระแม่คงคา ที่มนุษย์ได้ใช้น้ำ ได้ดื่มกินน้ำ รวมไปถึงการทิ้งสิ่งปฏิกูลต่างๆ ลงในแม่น้ำ

- เป็นการสักการะรอยพระพุทธบาท ที่พระพุทธเจ้าทรงได้ประทับรอยพระบาทไว้หาดทรายแม่น้ำนัมมทานที ในประเทศอินเดีย

- เป็นการลอยความทุกข์ ความโศกรวมถึงโรคภัยต่างๆ ให้ลอยไปกับแม่น้ำ

- ส่วนชาวไทยในภาคเหนือมีความเชื่อว่า การลอยกระทงเป็นการบูชาพระอุปคุต ตามตำนานเล่าว่า พระอุปคุตทรงสามารถปราบพระยามารได้

คำกล่าวขอขมาพระแม่คงคา

ข้าแต่คงคา ลูกขอวันทา ด้วยประทีปกระทง พระแม่คงคา มีความเมตตา ต่อลูกสูงส่ง คือน้ำในกาย สามส่วนมั่นคง กายจึงยืนยง ชุ่มชื่นยืนนาน

พระแม่คงคา กำเนิดจากฟ้า โปรยปรายลงมา เป็นกระแสธาร เกิดเป็นแม่น้ำ หลายนามขนาน ปิง, วัง, ยม, น่าน คือเจ้าพระยา ท่าจีน, ตาปี นครชัยศรี โขง, ชี, มูล, ละหาร ห้วยหนองคลองบึง จนถึงแก่งกว๊าน น้ำใต้บาดาล อีกทั้งประปา

ลูกลูกทั้งหลาย เดินทางขายค้า สำเร็จกิจจา คมนาคม นำมากินใช้ ได้ดั่งอารมณ์ ยามร้อนประพรม ชุ่มชื่นกายใจ

ชำระมลทิน โสโครกทั้งสิ้น สะอาดสดใส ผุดผ่องพราวตา แลเลิศวิไล แม่น้ำรับไว้ สกปรกโสมม

น้ำเสียเรือนชาน ซักผ้าล้างจาน เททิ้งทับถม ไหลลงคงคา ธาราระทม สารพิษสะสม เน่าคลุ้งฟุ้งไป

วันนี้วันเพ็ญ พระจันทร์ลอยเด่น เป็นศุภสมัย ลูกจัดกระทง ประสงค์จงใจ นำมากราบไหว้ พระแม่คงคา

เทวาทรงฤทธิ์ ซึ่งสิงสถิต ทุกสายธารา ทั้งผีพรายน้ำ อย่าซ้ำโกรธา ลูกขอขมา อโหสิกรรม

ทำกิจใดใด อุทกภัย อย่าได้เติมซ้ำ อย่าพบวิบัติ ข้องขัดระกำ อย่าให้ชอกช้ำ น้ำท่วมพสุธา

อย่าให้สินทรัพย์ ต้องพลันย่อยยับ เพราะสายธารา อย่าให้ชีวิต ต้องปลิดชีวา พระแม่คงคา รับขมาลูก เทอญ.


คำขอขมาพระแม่คงคา วันลอยกระทง (อีกหนึ่งบท)

ข้าขอยอกร ขึ้นตั้งหว่างศร

สิบนิ้วพนม กราบก้มเกศา

ฝนตกท่วมป่า ไหลมามากล้น

หมู่สัตว์ หมู่คน กินอาบบาปมี

กระทงลูกนี้ ลอยละล่องท้องค่า

มาลาหลากสี ธูปเทียนอัคคี นำไปบูชา

บูชาเสร็จแล้ว ถึงพระเขี้ยวแก้ว อยู่เมืองลงกา

อานิสงส์ของข้าฯ นิพพาน ปัจจโย โหตุ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook