ความเชื่อและข้อควรปฏิบัติในวันเช็งเม้ง

ความเชื่อและข้อควรปฏิบัติในวันเช็งเม้ง

ความเชื่อและข้อควรปฏิบัติในวันเช็งเม้ง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เช็งเม้ง หรือ วันไหว้บรรพบุรุษ ถือว่าเป็นอีกวันสำคัญของชาวจีนที่จะได้ไปกราบไหว้บรรพบุรุษที่สุสาน หรือได้เรียกกันว่าฮวงซุ้ย

ซึ่งจะเป็นการแสดงความเคารพ ความกตัญญูต่อบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญเป็นอย่างมากของชาวจีนที่จะแสดงความ กตัญญูต่อบรรพบุรุษของตนเอง นอกจากนี้ยังมีการร่วมกันทำความสะอาดสุสานอีกด้วย

ซึ่งในประเทศจีน เช็งเม้งจะเริ่มต้นประมาณ 4-5 เมษายน ไปจนถึง 19-20 เมษายน ส่วนใน ประเทศไทยเทศกาลเช็งเม้งจะยืดถือวันที่ 5 เมษายนของทุกปีเป็นหลัก แล้วนับวันก่อนถึง 3 วัน และเลยไปอีก 3 วัน รวมเป็น 7 วัน (2 - 8 เมษายน)

เช็งเม้ง หรือ วันไหว้บรรพบุรุษเช็งเม้ง หรือ วันไหว้บรรพบุรุษ

ประเพณีปฏิบัติในวันเช็งเม้ง

1. การทำความสะอาดสุสาน

2. กราบไหว้ เจ้าที่ เป็นการให้เกียรติ และขอบคุณที่ช่วยคุ้มครองดูแล

อาหารที่ใช้ในการประกอบพิธีเช็งเม้ง มีรายละเอียด ดังนี้

1. ไก่ต้ม 1 ตัว

2. หมูสามชั้น ต้ม 1 ชิ้น (โดยประมาณขนาด 1/2 กิโลกรัมขึ้นไป)

3. เส้นบะหมี่สด

4. ขนม 3 อย่าง คือ เต่เหลี่ยว ข้าวเหนียวกวน ขนมเต่า (ขนมกู้)

5. ขนมถ้วยฟู (ฮวดโก้ย)

6. สับปะรด 2 ลูก (ใช้ทั้งก้านและหัวจุก)

7. น้ำชา

8. ธูปเทียน, กระดาษเงิน, กระดาษทอง, ประทัด

การทำพิธีเช็งเม้ง

ให้ผู้อาวุโส เป็นผู้นำกราบไหว้ และเมื่อเทียนใกล้หมดก้านก็ให้ลูกหลานตีวงล้อมด้วยหวาย เผา กระดาษเงิน กระดาษทอง ฯลฯ เป็นการกำหนดขอบเขตว่า สิ่งเหล่านี้ลูกหลานส่งให้บรรพบุรุษของครอบครัวนั้น ๆ เป็นการเฉพาะ เพื่อป้องกันการแย่งชิง ( ผู้ตีวงล้อม ต้องเป็นลูกหลานเท่านั้น )

ซึ่งเมื่อเสร็จสิ้นพิธีแล้ว บางครอบครัวอาจจะมานั่งล้อมวงทานอาหารกันต่อ เพื่อแสดงความสมานสามัคคีแก่ บรรพบุรุษ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook