เรื่องน่ารู้ของปฏิทิน 100 ปี

เรื่องน่ารู้ของปฏิทิน 100 ปี

เรื่องน่ารู้ของปฏิทิน 100 ปี
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ปฏิทิน คือระบบที่ใช้ในการเรียกชื่อช่วงระยะเวลา เช่น วัน เป็นต้น วันเป็นที่รู้จักในฐานะ วันปฏิทิน วันจะขึ้นอยู่กับการเคลื่อนที่วัตถุทางดาราศาสตร์ เราสามารถแสดงปฏิทินได้ในหลายรูปแบบ ส่วนมากมักเป็นกระดาษ เช่น แบบฉีก แบบแขวน แบบตั้งโต๊ะเป็นต้น

แต่ปัจจุบันนี้ชาวสนุก!ดูดวงคงเคยได้ยินเรื่องราวของ "ปฏิทิน 100 ปี" กันมาบ้าง ซึ่งปฏิทินร้อยปีที่ว่านี้ เป็นการคำนวณ วัน เดือน ปี ทางโหราศาสตร์ ที่จะระบุวันสำคัญต่างๆ ไว้ สามารถดูตัวอย่างได้จากด้านล่างค่ะ

ปฏิทิน 100 ปีปฏิทิน 100 ปี

ปฏิทินที่โหราศาสตร์ไทยใช้ทำนาย จะไม่ได้ใช้ปฏิทินสากล (ปฏิทินสากลนับตามวิถีโคจรของดวงอาทิตย์เรียกว่า "สุริยะคติ") โดยปกติแล้วที่เหล่านักโหราศาสตร์ใช้จะเป็นปฏิทิน แบบนับวิถีโคจรของดวงจันทร์ ซึ่งเรียกว่า "จันทรคติ" เป็นหลัก

ตัวอย่างปฏิทิน 100 ปี

ปฏิทิน 100 ปีปฏิทิน 100 ปี



ตัวอย่างปฏิทิน 100 ปี ของปี พ.ศ. 2557

ตัวอย่างปฏิทิน 100 ปี ของปี พ.ศ. 2557ตัวอย่างปฏิทิน 100 ปี ของปี พ.ศ. 2557



ความหมายของคำต่างๆ ในปฏิทิน

ปกติมาส หมายถึง ปีทางจันทรคติที่เป็นปกติ 12 เดือน
ปกติวาร หมายถึง ปีทางจันทรคติที่เดือน 7 เป็นปกติ คือมี 29 วัน
อธิกมาส หมายถึง ปีทางจันทรคติที่มีเดือนแปดสองหน คือมีเดือนแปด (88) เพิ่มมาอีก 1 เดือน รวมเป็น 13 เดือน เป็นการทดให้เดือนทางจันทรคติกับสุริยคติมีความสมดุลกัน
อธิกวาร หมายถึง ปีทางจันทรคติที่เดือน 7 ซึ่งเป็นเดือนขาด มีวันเพิ่มอีก 1 วัน เป็น 30 วัน คือมีข้างขึ้น 15 วัน และข้างแรม 15 วัน
อธิกสุรทิน หมายถึง ปีทางสุริยคติ ที่เพิ่มวันในเดือนกุมภาพันธ์อีก 1 วัน เป็น 29 วัน

พุทธศักราช หรือ พ.ศ. คือ ช่วงกำหนดเวลาซึ่งกำหนดเอาปี ที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานเป็นเบื้องต้นในการกำหนดนับ ซึ่งพุทธศักราชนี้ในประเทศไทยเริ่มนับเมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว 1 ปี

คริสต์ศักราช หรือ ค.ศ. คือปีที่ใช้อ้างอิง โดยเริ่มนับจากปีที่เชื่อกันว่า พระเยซูเกิด และมีอายุครบหนึ่งปี เป็น ค.ศ. 1 โดยจำนวนปีคริสต์ศักราชจะห่างจากพุทธศักราช 543 ปี ใช้วันที่ 1 มกราคม ของทุกปีเป็นวันเปลี่ยนศักราช

>>>ดูวันธงไชยตามปฏิทินจีน คลิก!


ขอบคุณข้อมูลจาก http://astro.meemodel.com, http://th.wikipedia.org/
ขอบคุณภาพประกอบจาก Photos.com

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook