คดีสะเทือนขวัญในราชสำนัก! "ปลงพระชนม์มเหสี ร.6" ผู้สง่างาม

คดีสะเทือนขวัญในราชสำนัก! "ปลงพระชนม์มเหสี ร.6" ผู้สง่างาม

คดีสะเทือนขวัญในราชสำนัก! "ปลงพระชนม์มเหสี ร.6" ผู้สง่างาม
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เป็นข่าวที่ช็อกคนทั้งเมืองเมื่อเจ้านายผู้อาภัพ "พระนางเธอลักษมีลาวัณ" ผู้ทรงมีพระสิริโฉมงดงาม พระภรรยาเจ้าใน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ถูกฆาตกรรมหมกพระศพ!! ซึ่งเกิดเหตุการณ์นี้ ขึ้นในเช้าของวันที่ 3 กันยายน 2504 เมื่อ นสพ.รายวันทุกฉบับ ต่างพาดหัวพร้อมเพรียงในแนวเดียวกันว่า "ฆาตกรรมพระนางเธอลักษมีลาวัณ หมกพระศพเน่าในตำหนักลักษมีวิลาศ" สิริพระชนมายุรวม 62 ชันษา

เมื่อครั้งมีชีวิตพระองค์ทรงมีพระชนม์ที่แสนเศร้าหลังจากทรงได้รับสถาปนาเป็นพระมเหสีแล้วก็ทรงถูกพระราชสวามีตัดสินพระราชหฤทัยแยกกันอยู่ เนื่องจากพระนางมิได้ทรงมีรัชทายาทตามพระราชประสงค์ได้ พระนางทรงตัดสินพระทัยแยกมาอยู่ตามลำพัง ณ พระตำหนักในซอยพร้อมพงศ์ ริมคลองแสนแสบ ท่านกล้าที่จะแสดงออกในวัตรปฏิบัติผิดแผกแตกต่างไปสตรีส่วนใหญ่ในสมัยนั้น ที่อยู่ในกรอบของม่านประเพณีโบราณ

ทรงดำรงพระชนม์อย่างเรียบง่ายและเงียบสงบทรงใช้เวลาว่างไปกับการพระนิพนธ์ต่างๆ ภายหลัง สงครามโลกครั้งที่ 2 ทรงย้ายไปประทับ ณ พระตำหนักลักษมีวิลาศ ถนนศรีอยุธยา สี่แยกพญาไท และโดยเฉพาะในช่วงบั้นปลายพระชนม์ชีพพระองค์ทรงรักสันโดษและประทับอยู่เพียงพระองค์เดียวในพระตำหนัก จึงเปิดช่องให้ผู้มีจิตต่ำช้าสามาน โดยเฉพาะคนที่รู้ความเคลื่อนไหวในพระตำหนักดี ซึ่งผู้ก่อคดีฆาตกรรมนั่นคือข้าหลวงคนสวน นายวิรัช กับ นายแสง  ในพระตำหนักที่พระองค์ไล่ออก โดยก่อคดีดังกล่าวด้วยประสงค์ในทรัพย์สินส่วนพระองค์ เพราะมันรู้ว่าในพระตำหนักมีเพียงเจ้านายสตรีผู้ทรงพระชราภาพประทับอยู่เพียงพระองค์เดียว

และก็รู้ว่าในตู้ชั้นล่างพระตำหนักลักษมีวิลาศมีเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เข้าใจว่าเป็นของมีราคาก็กลับเข้ามายัง พระตำหนักลักษมีวิลาศ สี่แยกพญาไท และย่องเข้ามาทางข้างหลังใช้ชะแลงทำร้ายพระเศียรขณะประทับพรวนดินอยู่จนสิ้นพระชนม์ แล้วค้นทรัพย์สินเท่าที่หาได้หนีไป ได้ไปแต่เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แต่ไม่มีทรัพย์สินอย่างอื่นเลย ชายคนสวนผู้นั้น ได้ไปจำนำเครื่องราชอิสริยาภรณ์ด้วยไม่รู้จัก เจ้าของโรงรับจำนำเห็นผิดสังเกต จึงแจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจ ชายคนสวนผู้นั้นรับสารภาพถึงการฆาตกรรม และกล่าวว่าตนทราบแต่เพียงว่าพระนางทรงเป็นเจ้านาย ไม่คิดว่าจะทรงเป็นเจ้านายใหญ่ถึงเพียงนั้น

( ภาพข่าว นสพ.รายวัน ในสมัยนั้น )

เหตุการณ์ลอบปลงพระชนม์

เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2504 เวลา 15:30 น. พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ (พระเชษฐาต่างพระมารดา) ทรงได้รับโทรศัพท์แจ้งจาก นางสาวแน่งน้อย แย้มศิริ นิสิตบัญชีปี 3 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้เคยถวายงานเป็นข้าใน  ในพระตำหนักลักษมีวิลาศ ว่าน่าจะมีเหตุร้ายเกิดขึ้นในพระตำหนัก เนื่องจากเธอได้ไปกดออดเรียก และโทรศัพท์เข้าไปแต่ไม่มีผู้รับสาย

เมื่อเสด็จในกรมฯ ทรงทราบจึงเสด็จโดยรถยนต์ส่วนพระองค์มายังพระตำหนักลักษมีวิลาศ สี่แยกพญาไทโดยด่วน ปรากฏว่าบนพระตำหนักเงียบวังเวงปราศจากผู้คนอาศัยอยู่ ด้วยความร้อนพระทัยจึงได้เสด็จขึ้นไปชั้นบนพระตำหนักเพื่อตามหาพระนางเธอฯ พระขนิษฐา(น้องสาว) เสด็จในกรมฯ ทรงพระวิตกว่าพระนางเธอฯ จะได้รับอันตราย จึงทรงตรวจค้นห้องพระบรรทม พบเครื่องฉลองพระองค์และพระราชทรัพย์ถูกรื้อกระจาย แล้วจึงเสด็จลงมาตรวจบริเวณพระตำหนักอย่างละเอียดอีกครั้ง พร้อมเปล่งพระสุรเสียงเรียกพระนางเธอฯ ตลอดเวลา แต่ก็ไม่มีเสียงขานรับอย่างใด

เสด็จในกรมฯ ไม่ทรงพบใครอยู่ภายในพระตำหนักแต่กลับได้กลิ่นเหม็นเหมือนกลิ่นเน่า จึงเสด็จดำเนินตามกลิ่นไปถึงโรงรถบริเวณหลังพระตำหนัก เมื่อเสด็จถึง ถึงกับทรงตะลึง ทรงพบพระศพของพระนางเธอ ในสภาพเน่าอืด แล้วจึงทรงเร่งมาแจ้ง นายร้อยเวรสถานีตำรวจพญาไท เพื่อให้ชันสูตรพระศพโดยด่วน

เจ้าหน้าที่ตำรวจและผู้ชำนาญได้เริ่มลงมือชันสูตรพระศพซึ่งเริ่มส่งกลิ่น พบว่าที่พระวรกายบริเวณพระอุระพบบาดแผลฉกรรจ์คล้ายถูกแทงอย่างโหดเหี้ยม 4 แผล ที่พระศออีกแผลหนึ่ง ที่พระเศียรด้านหลังนั้นถูกตีจนน่วมมีพระโลหิตไหล สิ้นพระชนม์บนพื้นคอนกรีต เจ้าหน้าที่สันนิษฐานว่าสิ้นพระชนม์มาแล้วไม่ต่ำกว่า 3 วัน แล้วจึงส่งพระศพไปยังแผนกนิติเวช เพื่อชันสูตรอีกชั้นหนึ่ง

จาก นั้นเจ้าหน้าที่ได้ตรวจหาร่องรอย ภายในพระตำหนักอย่างละเอียด พบกรรไกรเปื้อนครอบโลหิตตกอยู่กลางห้องพระบรรทม เงินส่วนพระราชสมบัติหายไปโดยไม่ทิ้งไว้แม้จนบาทเดียว ที่ตู้เซฟเก็บเครื่องฉลองพระองค์ ที่เก็บเครื่องประดับต้นตระกูลแต่ครั้งรัชกาลที่ 1 มูลค่านับล้านบาท ยังคงอยู่ในสภาพปกติ สันนิษฐานว่าคนร้ายไม่อาจหากุญแจไขได้สำเร็จเพราะต้องรีบเตลิดหนีก่อนที่จะมีคนมารู้เห็นเข้า 

จากเหตุการณ์สะเทือนขวัญนี้ ทำให้หนังสือพิมพ์ลงข่าวเหตุการณ์เกือบทุกฉบับ ว่า พระนางเธอลักษมีลาวัณถูกลอบปลงพระชนม์ ซึ่งเจ้าหน้าที่สันนิษฐานว่าการที่พบพระศพอยู่บริเวณโรงรถติดกับห้องคนรับใช้ นั้นเป็นการพรางตา คาดว่ากลุ่มฆาตกรน่าจะสังหารตั้งแต่บนห้องบรรทมชั้นบนเพราะพบคราบพระโลหิตติดอยู่

เมื่อสิ้นพระชนม์แล้วจึงช่วยกันลากพระศพมาทิ้งไว้ที่โรงรถก่อนที่จะหลบหนีไป และภายหลังผู้ต้องหาถูกจับกุมได้โดยได้รับการแจ้งจากร้านทองที่รับจำนำของมีค่า ว่ามีผู้ต้องสงสัยนำเครื่องราชอิสริยาภรณ์มหาจักรี จุลจอมเกล้าและตราอื่นๆ จึงสามารถตามจับกุมได้ ต่อมาถูกพิพากษาให้ประหารชีวิต แต่ทั้งสองได้รับสารภาพ จึงได้รับการหย่อนโทษหนึ่งในสามคือให้จำคุกตลอดชีวิต เพื่อมิให้เป็นเยี่ยงอย่างต่อไปด้วยพระนางเป็นพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นพระองค์เจ้า

( ผู้คนมาเฝ้าดู ฆาตกร แน่นโรงพักพญาไท )

ภายหลังการสิ้นพระชนม์ของ พระนางเธอลักษมีลาวัณ วังได้ถูกทิ้งร้างอยู่นานเป็นปีด้วยเหตุลอบปลงพระชนม์เจ้านายกลายเป็นข่าวหน้า 1 ของหนังสือพิมพ์ยุคนั้น วังจึงถูกทิ้งไว้จนรกร้างวังเวง ประกอบกับมีเรื่องโจษขานถึงวิญญาณของผู้เป็นเจ้าของสถานที่ตามความเชื่อแบบไทยๆ จึงไม่มีทายาทคนใดกล้าเข้ามาพำนักที่วังแห่งนี้! ซึ่งปัจจุบันโดนรื้อถอนไปแล้วอย่างน่าเสียดาย

ข้อมูลและภาพประกอบจาก wikipedia

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook