"โสกันต์" ราชประเพณีที่ไม่มีวันหวนคืน!

"โสกันต์" ราชประเพณีที่ไม่มีวันหวนคืน!

"โสกันต์" ราชประเพณีที่ไม่มีวันหวนคืน!
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

อย่างที่ทราบกันดีว่าชาวไทยสมัยโบราณนั้นมักจะนิยมให้บุตร ธิดา ไว้ผมจุกตามคติความเชื่อจนเด็กโตเตรียมจะก้าวเข้าสู่วัยรุ่นคือ ช่วงอายุประมาณ 11-13 ปี ก็จะกระทำพิธีโกนจุก พิธีโกนจุกนั้นถือเป็นพิธีมงคล มีการทำพิธีมงคล ตามแบบโบราณที่มีการสืบทอดต่อๆ กันมา โดยเฉพาะพิธีในวังหลวง การโกนจุกของพระราชโอรส และพระราชธิดาของพระเจ้าอยู่หัว จะใช้คำว่า พระราชพิธีโสกันต์

ซึ่งจะมีระเบียบแบบแผนที่ค่อนข้างละเอียด จัดขึ้นหลายวันเป็นพระราชพิธีที่สำคัญจัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ แต่ก็เป็นที่น่าเสียดายเพราะผู้ปกครองในปัจจุบันไม่นิยมให้บุตรธิดาไว้ผมจุกตามกระแสภาวะในปัจจุบัน เช่นเดียวกับราชสำนักในปัจจุบันก็ไม่นิยมให้เจ้านายองค์น้อยๆ ไม่ว่าจะเป็นพระเจ้าลูกเธอจนถึงหม่อมเจ้าไว้จุกกันอีกแล้ว พระราชพิธีนี้จึงเป็นเพียงพระราชพิธีที่เคยเกิดขึ้นในอดีต ที่ไม่มีวันจะหวนคืนกลับมาอีก

"พระราชพิธีโสกันต์" ซึ่งเป็นพระราชพิธีโกนจุก ของพระราชโอรส หรือพระราชธิดา ของพระเจ้าแผ่นดิน และเจ้านายระดับพระองค์เจ้าขึ้นไป ส่วนเจ้านายระดับหม่อมเจ้า เรียกว่า "พิธีเกศากันต์" โดยพิธีการนี้ ถือเป็นพิธีมงคลที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ของเด็กไทยในสมัยนั้น เมื่อเด็กมีอายุครบตามกำหนด โหรหลวงจะดูฤกษ์ยาม เพื่อกำหนดวันเวลาที่จะเริ่มพระราชพิธีโสกันต์ ซึ่งจะมีพิธีสงฆ์ และพิธีพราหมณ์พร้อมกัน ส่วนใหญ่มักจะประกอบ ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท

ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น มักจะประกอบพิธีนี้ ร่วมกับพระราชพิธีสัมพัจฉรฉินท์ (พิธีตรุษไทย พระราชพิธีเดือน 4) ซึ่งต่อมาจะประกอบร่วมกับ พระราชพิธีตรียัมปวาย (โล้ชิงช้า) ตามประวัติศาสตร์แล้ว ในกรุงรัตนโกสินทร์ มีพระราชพิธีโสกันต์หลายครั้ง แต่พระราชพิธีโสกันต์ใหญ่ของเจ้าฟ้า และมีเขาไกรลาศ รวมทั้งพระราชพิธีครบถ้วน เช่นเดียวกับกรุงศรีอยุธยา เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก คือในพระราชพิธีโสกันต์ "สมเด็จเจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี" พระราชธิดาใน พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ประสูติแต่เจ้าทองสุก ธิดาพระเจ้ากรุงศรีสตนาคนหุต เจ้าประเทศราช

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook